5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 41

วิสัยทัศน์:             นาทามายด์ (Natamind) เป็นบริษัทชั้นนำ (Leader) ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplement) จากสมุนไพร (Herb) และสารสกัดจากธรรมชาติ (Natural extract) ที่ช่วยในการบรรเทาความเครียด (Stress relief) และช่วย (Aid) ให้การนอนหลับของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพผล (Effectiveness) ด้วยคุณภาพ (Quality) และมาตรฐาน (Standard) ที่ได้รับการยอมรับ และมุ่งเน้นความปลอดภัย (Safety focus) ของผู้บริโภคอย่างสูงสุด

พันธกิจ:              

1. มุ่งเน้นการจัดจำหน่าย (Distribution) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติที่ ช่วยบรรเทาความเครียดและส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ ที่มีความปลอดภัยต่อการบริโภค

2. รักษามาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีการพัฒนารูปแบบและคุณภาพของสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage) ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target group)3. การวิจัยและพัฒนา (Research and development) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติที่ ช่วยบรรเทาความเครียดและส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับให้มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการ (Need satisfaction ของผู้้บริโภค

วัตถประสงค์:        

1. วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเสียงสะท้อน (Feedback) ของผู้บริโภค และงานวิจัยด้านสารสกัด เพื่อพัฒนาประสิทธิผลของสินค้า รวมถึงการบริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย

2. มุ่งเน้นการขยายฐาน (Base expansion) ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยการสร้างการรับรู้ในยี่ห้อ (Brand awareness) และประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ (Recognize) คุณค่าของยี่ห้อ (Brand equity) 

เป้าหมาย:           

เป้าหมายระยะสั้น (Short-term) - ปีที่ 1

• จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มีคุณภาพที่ดี และมีสินค้าพร้อมขาย (Available) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจ (Confidence) และการยอมรับ (Acceptance) ในสินค้าและการบริการของยี่ห้อ

• สร้างการรับรู้ของผลิตภัณฑ์และยี่ห้อในบรรดากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการประชาสัมพันธ์ (Publicity) ในช่องทาง (Channel) ออนไลน์ กล่าวคือ การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Facebook, Line@, และ Instagram

• ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสรรพคุณ (Property) ของผลิตภัณฑ์ สารสกัดและสมุนไพร ผ่านช่องทางสื่อสังคม (Social media) ของยี่ห้อ และสื่อสารให้ผู้บริโภคมั่นใจ (Confidence) เรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

• ประชาสัมพันธ์ทางการตลาดผ่านสื่อสังคมของยี่ห้อ และผู้ทรงอิทธิพล (Influencer) เพื่อสร้างการรับรู้, ความเข้าใจ, และการยอมรับในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

• สร้างช่องทางการขายผ่านสื่อสังคม อันได้แก่ Facebook และ Line@ รวมไปถึงช่องทางบนเวทีพื้นฐาน (Platform) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) กล่าวคือ Shopee และ Lazada

เป้าหมายระยะกลาง (Mid-term) - ปีที่ 2 - 3

• สร้างอัตราการเติบโตของของยอดขาย (Revenue growth) 10% ต่อปี

• วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement) ของผลิตภัณฑ์เดิม เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ (Repeat purchase)• เพิ่มการรับรู้ของยี่ห้อ (Brand awareness) และผลิตภัณฑ์ผ่านการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดผ่านสื่อสังคมของยี่ห้อ และผู้ทรงอิทธิพล ให้มากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้า

• สร้างประสบการณ์ที่ดี (Favorable experience) ด้านการบริการ, การนำเสนอ (Presentation) สินค้า,, และการดูแลหลังการขาย (After-sales) เพื่อสร้างความประทับใจ (Impression) ให้กับลูกค้า

แหล่งข้อมูล –  

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4712/1/TP%20FB.002%202565.pdf [2024, September 25].
  2. https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, September 25].