
6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 53
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 มีนาคม 2568
- Tweet
- สั่งซื้อสินค้าอะไหล่ (Spare parts) หรือวัสดุ (Material) จำเป็นเพื่อใช้ในการซ่อม (Repair) เครื่องมือ ให้พร้อมอยูในคลังสินค้า (Warehouse) อยู่เสมอ
- หากเกิดปัญหาที่รุนแรง (Severe) พนักงานในประเทศไม่สามารถแก้ไขได้ จะต้องติดต่อกับทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้าให้การช่วยเหลือโดยทันที
6. การดำเนินกลยุทธ์ด้านการขาย – ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategy risk) ในการดำเนินธุรกิจ เริ่มต้นที่ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ราคา (Pricing) โดยได้กำหนดราคาโดยประเมินจากทั้งชนิดการทดสอบและราคาขายของคู่แข่งภายในตลาด ดังนั้น อาจเกิดความผิดพลาด (Mistake) ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ทั้งทางด้านยอดขายและกำไร จึงอาจมีแนวทางในการแก้ไขและป้องกัน ดังนี้
- ก่อนการตกลงราคา จะต้องประเมิน (Assess) ยอดขายและกำไร โดยต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร (Executive approval) ซึ่งอาจมีการปรับเพิ่ม หรือลดราคาตามความเหมาะสม (Appropriately) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน (Usage quantity) ของลูกค้าแต่ละราย
- หากพบข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงด้านราคาในตลาด (Market price change) จะต้องนำราคาดังกล่าว มาประเมินความสามารถในการทำตลาด (Marketing capability) เพื่อปรับให้ราคาของสินค้า ให้มีความสามารถในการแข่งขัน (Competition) และมีผลกำไรสูงสุด (Maximum)
7. การดำเนินกลยุทธ์ด้านการทำตลาด – จะเน้นไปการขายสินค้าไปยังห้องปฏิบัติการ (Laboratory) โดยเฉพาะแห่งที่มีการตรวจวิเคราะห์ชนิดดังกล่าวอยู่แล้ว (Existing) ซึ่งในอนาคต อาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเป็นแผนงานที่ไม่มีประสิทธิผล (Effectiveness) ส่งผลทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ (Unsuccessful) และเกิดความเสี่ยงกระทบต่อภาพรวม (Overall) ของธุรกิจได้ ดังนั้น ผู้วิจัยได้วางแผนการป้องกันความเสี่ยงด้านการทำตลาด ไว้ดังนี้
- ติดตามผล (Monitor) การดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นรายสัปดาห์ พร้อมทั้งแผนในอนาคต เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้อง
- หากพบว่าแผนกลยุทธ์ดังกล่าวไม่มีประสิทธิผล หรือไม่บรรลุยอดขายหรือเป้าหมายทางธุรกิจ จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยจะต้องคำนึงถึง (Consideration) สภาวะตลาด ณ ขณะนั้น และผลประกอบการ (Performance) ของหน่วยธุรกิจประกอบด้วย
8. การสั่งซื้อนำเข้าสินค้าไม่ได้ตามความต้องการ – การสั่งซื้อและนำเข้า (Import) ไม่ได้ตรงตามความต้องการ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย (Factor) อันได้แก่ ปัจจัยด้านระเบียบการขอขึ้นทะเบียน (Registration) และนำเข้าสินค้า, การพยากรณ์ (Forecast) ในการสั่งสินค้าไม่ตรงกับความต้องการจริงของลูกค้า, ระยะเวลา (Duration) ในการขนส่งสินค้า เป็นต้น แต่ทางบริษัทฯ ก็ไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าให้มาคงคลังในปริมาณที่มากเกิน (Excess) ความต้องการตามนโยบายบริษัทฯ ผู้วิจัยจึงได้วางแผนการป้องกนความเสี่ยงไว้ดังนี้
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2025, March 13].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2025, March 13].