6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 25
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 31 มกราคม 2567
- Tweet
ในการจัดทำแผนธุรกิจ (Business plan) มักมีองค์ประกอบ (Component) สำคัญของการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) กับจุดอ่อน (Weakness) ซึ่งเป็นปัจจัยภายใน (Internal) และโอกาส (Opportunity) กับอุปสรรค (Threat) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก (External) เรียกรวมกันว่า SWOT Analysis หรือในทางสลับกันของปัจจัย (ระหว่างภายในกับภายนอก) จะเรียกว่า OTSW Analysis
โอกาสทางธุรกิจ
อัตราค่าจ้างค่าแรงขั้นต่ำ (ปัจจุบันอยู่ที่ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนของภาครัฐ ตามที่รัฐบาลได้ผลักดันและเริ่มบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม พ .ศ.2556) นั้น ทำให้ผู้ประกอบการโรงพยาบาล พยายามลดต้นทุนจากการใช้แรงงาน (Labor cost)
ตามข้อมูลจากการสำรวจ (Survey) ที่ทำมา ความพยายามดังกล่าว รวมถึงแนวโน้ม (Tendency) ในการนำเครื่องมืออัตโนมัติ (Automation) มาทดแทน (Replace) แรงงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) ซึ่งเป็นภาคส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก (Laor intensive)
จากการดำเนินกิจการโรงพยาบาลในปัจจุบัน จะต้องผ่านการรับรอง (Certification) โดยระบบมาตรฐาน (Standard) ต่างๆ ที่เข้ามาควบคุมการปฏิบัติงาน (Operations) ในทุกส่วน อันได้แก่ระบบ ISO15189, ระบบ Laboratory Accreditation (LA), ระบบ Hospital Accreditation (HA)
ผลที่ตามมา (Consequence) ทำให้ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ต้องการ (Require) เครื่องมือแพทย์ (Medical device) และอุปกรณ์ (Equipment) ที่สามารถเข้ามาควบคุม (Control) การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standardization) ในทุกๆ ขั้นตอน (Step)
ยิ่งกว่านั้น สามารถตรวจสอบ (Audit) ได้ และลดความผิดพลาด (Error) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แรงงานคนในการทำงาน ข้อจำกัด (Limitation) ในการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยา (Micro-biology) ได้แก่ระยะเวลารายงานผล (Turn-around time) ที่จะต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเชื้อ (Culture)
ในทางปฏิบัติ ปัจจัยเรื่องเวลา อาจไม่ทันการในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency) หรืออยู่ในภาวะวิกฤต (Critical) ทำให้ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาต้องการเครื่องมือ หรือวิธีการตรวจวิเคราะห์ (Diagnostic method) ที่ช่วยให้สามารถรายงานผลการทดสอบ (Test result) ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ความต้องการเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการรายงานผลการทดสอบ เป็นจุดที่แพทย์ผู้ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยได้ให้ความเห็น (จากผลการสำรวจ) ว่า ต้องการผลการทดสอบที่ถูกต้องแม่นยำ (Accurate) มากขึ้นกว่าการทดสอบแบบเดิม (Conventional) ซึ่งอาจมีความไวในการทดสอบ (Sensitivity) ที่ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้การรักษาอาจเกิดความผิดพลาดจากการที่ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ครบถ้วนได้
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2024, January 30].
- https://en.wikipedia.org/wiki/SWOT_analysis [2024, January 30].