7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 47
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 ธันวาคม 2567
- Tweet
ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix) ที่มีผลต่อพฤติกรรม (Behavior) การเลือกใช้บริการรถเอกซเรย์เคลื่อนที่
- ด้านการบริการ (Service) จากการสอบถามพบว่า การให้บริการที่ดีรู้สึกได้รับประโยชน์ (Beneficial) จากการใช้บริการครั้งนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อได้รับผลตรวจที่ผิดปกติ สามารถนำไปรักษาต่อได้ทันท่วงที อานิสงส์ ก็คือ การตรวจร่างกาย (Physical examination) โดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการบริการของการตรวจสุขภาพ
- ด้านราคา (Pricing) จากการสอบถามพบว่า ส่วนมากลูกค้าจะให้ความสำคัญ ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ โดยคำนึงถึงการบริการที่ได้รับและชุดเหมาจ่าย (Package) ที่บริษัทเสนออย่างเหมาะสม (Appropriate)
- ด้านสถานที่ (Place) จากการสอบถามพบว่า ถ้ามีบริการรถรับ-ส่ง (Transportation) และบางครั้งมาให้บริการเก็บตกที่บริษัทอีก 1 วัน จะเป็นการบริการที่ดีมาก
- ด้านบริการเสริม (Promotion) จากการสอบถามพบวา่ การบริการรถเอกซเรย์เคลื่อนที่นั้น ส่วนมากผู้ใช้บริการที่เคยใช้บริการให้ความสำคัญเรื่องบริการบรรยาย (Lecture) หรือปรึกษา (Consult) โดยแพทย์หลังจากที่บริษัทได้รับผลตรวจ แล้ว
- ด้านบุคลากร (People) จากการสอบถามพบวา่ เจ้าหน้าที่มีทักษะ (Skill) และความสามารถ (Competency) ในการแก้้ไขปัญหาได้ดี เจ้าหน้าที่ใส่เสื้อกาวน์ (Gown) ทุกคนเก็บผมเรียบร้อย มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm) ในการให้บริการ
- ด้านกระบวนการ (Process) จากการสอบถามพบว่า ลูกค้าต้องการให้บริษัทคำนึงถึง (Consider) กระบวนการตรวจสุขภาพ ตั้งแต่การรับข้อมูลการตรวจการรายงานผล (Outcome report) ของทางโรงพยาบาล มีความเหมาะสมไม่ซับซ้อน (Complicated) อะไร
- ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ (Physical evidence) จากการสอบถามพบว่า ลูกค้าต้องการให้เจ้าหน้าที่ให้บริการที่ดี, รวดเร็ว, และมีทัศนคติ (Attitude) ที่ดีในการตอบคำถาม ซึ่งโดยรวมแล้ว เจ้าหน้าที่มีการแต่งกายที่เรียบร้อย (Neat), สะอาด (Clean), และดูมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) คิดว่า โรงพยาบาลมีรูปแบบ (Model) การบริการที่ดี
การอภิปรายผล
ในการศึกษาวิจัยตลาด (Market research) และเก็บข้อมูลความต้องการ (Demand) และการดำเนินธุรกิจ (Business conduct)เอกซเรย์เคลื่อนที่ (Mobile x-ray) ผู้วิจัยได้ สรุปว่า การที่จะให้ธุรกิจประสบความสำเร็จจะต้องมีกลยุทธ์ด้านบริการเป็นเลิศ (Service excellence)
ในงานบริการลูกค้าที่หลายๆ ธุรกิจกำลังดำเนินการอยู่นั้น มักจะมีคำถามของผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการ ว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้ธุรกิจ มีบริการที่ดีมีลูกค้าออกปากชม, บอกปากต่อปาก (Words of mouth), และรู้สึกประทับใจจนทำให้เกิดยี่ห้อ (Brand) ในบริการ อันจะส่งผลต่อยี่ห้อของธุรกิจ
แน่นอนว่าทุกๆ ธุรกิจ ต้องการให้เกิดภาพพจน์ (Image) นี้ขึ้น วิธีการสร้างนั้น มิใช่สร้างได้เพียงไม่กี่เดือน แต่ต้องสร้างกันหลายปีจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture) ซึ่งหลายองค์กรก็มีวิธีที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ, ค่านิยม (Value), และวัฒนธรรมขององค์กรนั้น
แหล่งข้อมูล –
- http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2564-1-1_1671003294.pdf [2024, December 20].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, December 20].