7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 36

ในบรรดาโรงพยาบาลเอกชน (Private) เกิดใหม่ (Emerging) ล่าสุด เป็นที่ทราบกันว่า รพ. วิมุต มีเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiologic diagnosis) ที่ครบครัน (Complete) ทันสมัย (Sophisticated)

อันที่จริง การใช้เครื่องมือทางรังสีในการตรวจวินิจฉัย สามารถช่วยให้เราตรวจหารอยโรค (Lesion) ต่างๆ ที่ไม่ปรากฏให้เราเห็นผ่านสายตา (Visual) บางโรคอาจไม่แสดงอาการ (Symptom) หรือไม่แสดงความเจ็บป่วย (Illness) ให้เราทราบ การตรวจทางรังสีจึงเป็นหนึ่งวิธี ที่ทำให้เรารู้ถึงสาเหตุรากเหง้า (Root cause) ของอาการเหล่านั้นได้

เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced) และเครื่องมือที่ทันสมัย ประกอบกับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ (Expert) จะทำให้ผู้รับบริการได้รับการตรวจวินิจฉัยที่มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) อันนำไปสู่การรักษาอย่างรวดเร็ว (Rapid) และมีประสิทธิผล (Effective) เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถรองรับการก้าวสู่ยุคดิจิทัล (Digital)

ผู้รับบริการ (Service recipient) สามารถเข้าดูภาพ (Image) และผลตรวจทางรังสีผ่านทางซอฟต์แวร์ประยุกต์เคลื่อนที่ (Mobile application) หรือ ประตูเชื่อมผู้ป่วย (Link-patient portal) แบบเวลาจริง (Real time) ได้ทุกที่ (Anywhere) [ทุกมุมโลก] และ ทุกเวลา (Anytime) โดยไม่ต้องพกแผ่นฟิล์ม หรือ จานกระจุก (Compact disk: CD) อีกต่อไป

วิธีการนี้ อำนวยความสะดวกสบาย (Facilitation) ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรอ (Waiting) และไม่ต้องเดินทาง (Traveling) มาที่โรงพยาบาล แต่สามารถดาวน์โหลด (Download) เก็บภาพไว้ได้ตลอดเท่าที่ต้องการ 

ศูนย์เอกซเรย์ (Imaging Center) ของโรงพยาบาล ให้บริการตรวจวินิจฉัยโดยทีมรังสีแพทย์ (Radiologist) และนักรังสีเทคนิค (Radiologic technologist: RT) ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง (Specialty) ด้วยเครื่องมือและโปรแกรม (Modality) การตรวจที่หลากหลาย (Variety) เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิผล

รวมทั้งการตรวจทั้งร่างกาย (Physical examination), การตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular), การตรวจความผิดปกติของสมองและหลอดเลือดสมอง (Stroke), การตรวจไต (Renal), การตรวจกระดูก (Bone), ปอด (Lung), ต่อมไทรอยด์ (Thyroid), ตับ (Liver)

โรงพยาบาลให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องที่สร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI) โดยมีจุดเด่น (Outstanding) ที่เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้การตรวจ MRI เป็นการตรวจที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะคำนึงถึงความสะดวกสบาย (Convenience) โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centric care)

ด้วยอุโมงค์ (Tunnel) ที่กว้างและตื้นขึ้น รองรับได้ทุกสรีระ (Physiology) ไม่อึดอัด (Uncomfortable) ขณะตรวจ เครื่องเสียงเบาลง ใช้เวลาในการตรวจลดลง เทคโนโลยีจับการหายใจ (Breathing) แบบไร้สายที่เรียกว่า “ตาแดง” (Red Eye) ช่วยลดการติดอุปกรณ์หรือสายรัด (Strap) ขณะอยู่ในเครื่องตรวจ  

แผ่นรองนอนแบบยืดหยุ่น (Memory foam) ที่อ่อนนุ่มและนอนสบาย พร้อมเลือกเพลงที่ผู้ป่วยชอบ และที่สำคัญเครื่องยังออกแบบให้มีโปรแกรมอัตโนมัติ (Automatic) ช่วยดูแลในเรื่องความปลอดภัย (Safety) ขณะตรวจ เช่น โปรแกรมคำนวณความร้อน (Heat) และระยะเวลา (Time) ที่ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดใส่โลหะในร่างกาย (Metal implant) สามารถอยู่ในเครื่องตรวจได้อย่างปลอดภัย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.vimut.com/service-center/X-ray [2024, July 19].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, July 19].