7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 30

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ จุฬาฯ ตระหนักถึงความสำคัญในคุณภาพ (Quality) ของการให้บริการโดยมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นจุดกลาง (Patient-centric) และการดูแลอย่างเอื้ออาทร จึงจัดให้มีโครงการชื่อว่า “สร้างสุขทุกนาที…เพื่อผู้ป่วยเด็กระหว่างการรอตรวจ” ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งโครงการดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย (Relax), ลดความเครียด (Stress), ความกลัว (Fear), และความวิตกกังวล (Worry) ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กให้ความร่วมมือในการตรวจ

โครงการนี้ได้รับรางวัลชมเชยและรางวัลขวัญใจมหาชน” จากการประกวดโครงการพัฒนาคุณภาพงาน (Work Quality Development) ประจำปี พ.ศ. 2562 จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  1. ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation) สู่ประชาชน

เวชศาสตร์นิวเคลียร์ จุฬาฯ เน้นถึงความสำคัญในพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะ “การพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย (Routine to Research)” ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัย/นวัตกรรมดังกล่าว จะนำมาซึ่งการปรับปรุงกระบวนการทํางาน (Work process) และการบริการให้ดีขึ้น (Improved service)

ที่ผ่านมาสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้พัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการประคบเย็นสำหรับผู้ป่วย เรียกว่าหน้ากากประคบเย็น “CARE MASK” หน้ากากนี้ใช้สำหรับประคบเย็นบริเวณต่อมน้ำลาย (Salivary gland) เพื่อช่วยลดอาการปวด (Pain) และบวม (Inflammation) ของต่อมน้ำลายที่เกิดการอักเสบจากการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีนในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์

นอกจากนี้ ยังลดอาการปวดและบวมของฟันและเหงือกภายหลังการผ่าตัดทางทันตกรรม, ลดอาการปวดและบวมบริเวณกราม (Jaw) และคาง (Chin) ภายหลังการผ่าตัด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องใช้มือในการประคองอุปกรณ์ให้ความเย็น ในระหว่างทำการประคบ ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำงานหรือกิจวัตร (Routine) ต่างๆ ได้ในขณะที่ทำการประคบเย็น

การให้บริการของศูนย์

  1. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

เป็นการตรวจทางรังสีวิทยาซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ทางคลินิก โดยมีข้อดีที่สำคัญคือสามารตรวจได้ถึงระดับโมเลกุลซึ่งเป็นโครงสร้างที่เล็กที่สุดของร่างกาย แพทย์จึงสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของโรค และวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ (Pre-examination) การตรวจรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีวิธีการที่หลากหลายตามอวัยวะ (Organ) ที่จะตรวจ จึงต้องการการเตรียมตัวที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยควรสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่ทำการตรวจรักษา และศึกษาข้อควรปฏิบัติจากเอกสารคำแนะนำ (Instruction) ให้ครบถ้วนตามการตรวจแต่ละประเภทวิธีการตรวจ

แหล่งข้อมูล

  1. https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/dept/%/ฝ่ายรังสีวิทยา [2024, April 10].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, April 10].