
8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 53
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 16 มีนาคม 2568
- Tweet
บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้หนักมากขึ้น หรือลุกลาม (Spread) ไปยังกล้ามเนื้อ (Muscle) และระบบประสาท (Neurological system) ส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ กลุ่มอาการสำนักงาน (Office syndrome) ยังมีกลุ่มอาการที่เกิดจากส่วนของกระดูกสันหลัง (Spine) มีปัญหา
อาการดังกล่าว มักจะสัมพันธ์กันกับ ท่านั่ง (Sitting posture) ทำงานที่ไม่เหมาะสม หลายๆ ครั้งมักเป็นอาการรุนแรงที่ควรรีบรักษา เป็นปัญหาเดิมซ้ำๆ (Repeat) เป็นระยะเวลานาน (Long-term) การมาแก้ที่ปลายเหตุนั้น การทำกายภาพบำบัดอาจไม่ได้ช่วยให้หายขาด (Completely cured)
ดังนั้น ทาง Physio Wellness จึงมีแผนการดำเนินงาน (Operational plan) ที่จะติดตามการรักษา (Follow up) และมีการสอนท่ายืดเหยียด (Stretch) และคลาย (Relax) กล้ามเนื้อ ให้ผู้รับบริการได้เอากลับไปทำเองได้ที่บ้าน และสามารถ ปรึกษาเพิ่มเติม (Additional consultation) ได้ผ่านทางช่องทาง Line ของทางคลินิกอีกด้วย
5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด เนื่องจาก Physio Wellness เป็นคลินิกที่เปิดใหม่ ยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก (Unknown) ในบริเวณดังกล่าว ในระยะช่วงแรก (Initial stage) ของการเปิดดำเนินงาน ยอดการใช้บริการอาจต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ และยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ (Unreliable) ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจ (Decision-making) ในการใช้บริการของลูกค้า
สำหรับ แนวทางในการบริหารความเสี่ยง ทำได้โดยการประชาสัมพันธ์ (Publicity) ในทุกช่องทาง ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ให้มีประสิทธิผล (Effective) มากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้ (Awareness building) ของยี่ห้อ (Brand) ในบริเวณพื้นที่โดยรอบ (Surrounding)
นอกจากนี้ จะมีการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ด้วยเพจออนไลน์ โดยการสร้างเนื้อหา (Content) ออนไลน์ที่เข้าถึง(Access) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target customer)
6. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง มีความเสี่ยงของการบริการเงินสด อาจขาดสภาพคล่องได้ (Liquidity) ในช่วงแรกที่ดำเนินกิจการ แนวทางในการบริหารความเสี่ยง จึงต้องควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ และมีการตั้งเงินกันสำรอง (Reserve) เผื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน (Contingency) ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกบสถานการณ์นั้นๆ
แต่หากงบกระแสเงินสดไม่เพียงพอ (Inadequate cashflow) จะมีการระดมทุน (Financing) เพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้นของธุรกิจ (Stockholder) และ/หรือ ผ่านการสร้างหนี้ (Debt) กล่าวคือ กู้ยืมเงิน (Loan) จากสถาบันการเงิน (Financial institution) เช่น ธนาคาร
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4916/1/TP%20EM.004%202566.pdf [2025, March 15].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Physical_medicine_and_rehabilitation [2025, March 15].