8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 41
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 29 กันยายน 2567
- Tweet
กิจการภายใต้การศึกษานี้ คิดวาจะสร้างจุดแตกต่าง (Differentiation) เพื่อยกระดับเหนือ (Superior) คู่แข่งขันในเรื่องการเป็นคลินิกกายภาพบำบัดในรูปแบบสุนทรียะ (Aesthetics) ผสมผสาน (Inter-weave) ความสมัยใหม่ (Modern) โดยการตกแต่งภายใน (Interior decoration) ให้รู้สึกผ่อนคลาย (Relaxation) เหมือนอยู่ในสปา (Spa)
จุดมุ่งเน้น (Focus) อยู่ที่ลูกค้า 2 กลุ่มหลัก กล่าวคือ พนักงานสำนักงาน (Office worker) ที่ประสบปัญหากลุ่มอาการสำนักงาน (Office syndrome) และกลุ่มลูกค้าผู้ที่ออกกำลังกาย (Exercise) แล้วได้รับบาดเจ็บ (Injure) โดยมีกระบวนการ (Process), บำบัด (Therapy), และรักษา (Treatment)
นอกจากนี้ ยังให้คำปรึกษา (Consultation) และติดตาม (Monitor) อาการของผู้รับบริการ (Service recipient) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (Sophisticated) สิ่งสำคัญคือ จะพัฒนาการบริการให้มีคุณภาพ (Quality) เห็นผลลัพธ์ (Visible outcome) โดยผู้รับบริการ มีอาการที่ดีขึ้นจนหายขาด ไม่มีความเจ็บปวดเรื้อรัง (Chronic pain) และสามารถใช้ชีวิตประจำวัน (Daily life) ได้ตามปรกติ
ในการวิเคราะห์ (Analysis) สภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจ (External environment) เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด (Market trend) และวิเคราะห์ภาพรวม (Overall) ของธุรกิจในอนาคต มักอาศัยการข้อมูล (Information) ของการเปลี่ยนแปลง (Change) ของปัจจัย (Factor) ภายนอกต่างๆ ที่เราไม่สามารถควบคุม (Uncontrollable) อันได้แก่
- P = Political (การเมือง) ซึ่งปัจจุบันยังไม่นิ่ง รัฐบาลขาดวิสัยทัศน์ และไร้เสถียรภาพ ( - )
-
- ไม่มีนโยบายด้านสาธารณสุข (Public health policy) ที่ชัดเจนที่เป็นการให้ประโยชน์ (Advantage) แก่ธุรกิจเชิงสุขภาพ ( - )
- นโยบายดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ( + )
- นโยบายด้านสาธารณสุขของทางภาครัฐ ที่เน้นการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ (Health insurance) ได้ง่ายขึ้นของประชาชน ผลกระทบทางด้านการเมือง ส่งผลกระทบ (Impact) เพียงเล็กน้อยต่อธุรกิจทางด้านสุขภาพ เนื่องจากชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ (Purchasing power) เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาใช้บริการ มักจะมีประกันสุขภาพ หรือหากเป็นข้าราชการ (Civil servant) ก็สามารถเบิกค่าใช้จ่าย ได้
- E = Economic (สภาวะเศรษฐกิจ) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะถดถอยโดยมีเงินเฟ้อสูง ( - )
-
- แต่กำลังจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ( + )
- ค่าครองชีพสูงขึ้น จากภาวะน้ำมันแพง ( - )
ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ หากมีปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด (Stress) ซึ่งส่งผลต่อความตึง (Stretch) ของกล้ามเนื้อ (Muscle) และสภาพร่างกาย
- S = Social (สังคม) โครงสร้าง (Structure) ประชากร (Population) ของไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Elderly society)
- ประชากรวัยทำงาน (Work force) น้อยลง ส่วนผู้สูงวัยที่ไม่มีเงินเก็บ (Savings) อาจส่งผลเรื่องของภาระ (Burden) ขอวัยทำงานที่ต้องเผชิญกับความเครียด (Stress) จากการเป็นคนดูแลครอบครัว ( - )
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4916/1/TP%20EM.004%202566.pdf [2024, September 28].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Physical_medicine_and_rehabilitation [2024, September 28].