8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 28
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 มีนาคม 2567
- Tweet
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งหมด ควรหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ (Mobile phone) และแท็บเล็ต (Tablet) มากเกินไป โดยเฉพาะก่อนเข้านอน การใช้เครื่องมือ (Gadget) เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงทำให้สายตา (Eye-sight) เสียหาย (Damage) แต่ยังสามารถทำให้เกิดการตึง (Strain) เพิ่มมากขึ้น ในบริเวณคอ (Neck), ไหล่ (Shoulder), และสะบักไหล่ (Shoulder blade)
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้มีสุขภาพดี ควรมีการนอนเพียงพอ (Adequate) เฉลี่ย 7-9 ชั่วโมงต่อคืน การบริโภคอาหารทั้ง 5 กลุ่มอาหาร โดยมีส่วน (Portion) ที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ และการดื่มน้ำเพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญ (Essential)
- กระฉับกระเฉง ทุกรูปแบบ (Form) ของกิจกรรมทางกาย (Physical activity) มีบทบาทสำคัญในการเสริม (Enhance) ภูมิคุ้มกัน (Immune function) ทำให้เกิดความเสี่ยง (Risk) ในการติดเชื้อ (Infection) ลดลง และหากติดเชื้อก็จะหาย (Recover) ได้เร็วขึ้น การออกกำลังกาย (Work-out) ที่บ้านสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำความสะอาดบ้าน, ทำสวน, การเต้นรำผ่านทางเครือข่ายสังคม (Social network) และการเล่นเกมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวทางกาย (Physical movement)
ถ้าปวดกล้ามเนื้อเป็นปัญหาเรื้อรัง (Chronic) ที่มีผลรบกวน (Disturb) มากต่อชีวิตประจำวันและกิจกรรมต่างๆ ควรพบแพทย์โดยเร็วเพื่อรับการวินิจฉัย (Diagnosis) ที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม หากเกิดปฏิกิริยาทางการแพทย์ที่ร้ายแรง (Complication)
ตัวอย่างเช่น มีอาการชา (Numbness) หรือรู้สึกเสียวซ่า (Tingling) ที่มีโอกาสเป็นไส้เลื่อน (Herniated disc), การเจ็บข้อ (Joint pain) รุนแรงโดยเฉพาะตอนกลางคืน, หรือมีก้อนบวม (Swelling mass) ควรได้รับการช่วยเหลือ (Assistance) ทางการแพทย์ทันทีเพื่อการสืบค้น (Investigation) เพิ่มเติม (Further)
ในภาพกว้าง กายภาพบำบัด (Physical therapy) เน้น (Address) การรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่จำกัด (Limit) ความสามารถในการเคลื่อนไหว และปฏิบัติ (Perform) กิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคล กายภาพบำบัดเป็นหนึ่งในสหวิชาชีพสุขภาพ (Allied health profession) ซึ่งรวมถึงการวิจัย (Research), การให้การศึกษาผู้ป่วย (Patient education), การแทรกแซงเพื่อรักษา (Intervention), และฟื้นฟู (Rehabilitation) ร่างกาย
ในทางปฏิบัติ นักกายภาพบำบัด (Physical therapist) ใช้ประวัติและการตรวจร่างกาย (Physical examination) ของผู้ป่วย เพื่อทำการวินิจฉัย และกำหนดแผนการจัดการ (Management plan) และเมื่อจำเป็น (Necessary) ก็สามารถรวม (Incorporate) เข้าไปในแผนการซึ่งผลตรวจจากห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ (Laboratory) หรือภาพถ่ายทางรังสีเอ็กซ์, ซีทีสแกน (CT = Computed tomography), หรือผลการตรวจ MRI (= Magnetic resonance imaging)
นอกจากนี้ อาจรวมผลการทดสอบไฟฟ้าวินิจฉัย (Electro-diagnostic) เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyogram) และ การทดสอบความเร็วการนำสัญญาณประสาท (Nerve conduction velocity testing) เป็นต้น
แหล่งข้อมูล -
- https://www.bangkokhospital.com/en/content/work-from-home-and-office-syndrome [2024, March 14].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Physical_therapy [2024, March 14].