8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 25

ปัจจุบัน ธุรกิจกายภาพบำบัด (Physical therapy) ที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวน 175 ราย คิดเป็น 0.01% ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ (Operating) และมีมูลค่าทุน (Investment) 1,665.55 ล้านบาท คิดเป็น 0.007% ของธุรกิจทั้งหมดที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย

ธุรกิจส่วนมากดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด (Limited company) จำนวน 163 ราย คิดเป็น 93.14% มูลค่าทุน 1,645.85 ล้านบาท และเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (Small) มากที่สุด จำนวน 174 ราย คิดเป็น 99.43%

สถานประกอบการ (Location) ส่วนมากตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร (Metropolis) จำนวน 91 ราย (หรือ 52.00%) ทุนจดทะเบียน (Registered capital) รวม 1,284.31 ล้านบาท (หรือ 77.11%) รองลงมา คือ ภาคกลาง 33 ราย (หรือ 18.86%), ภาคเหนือ 15 ราย (หรือ 8.57%), ภาคใต้ 13 ราย (หรือ 7.43%), ภาคตะวันออก 11 ราย (หรือ 6.29%), ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 ราย (หรือ 4.57%), และภาคตะวันตก 4 ราย (หรือ 2.28%)

ท่ามกลางกระแสความนิยม (Popularity) ของธุรกิจกายภาพบำบัดที่มีเพิ่มมากขึ้น ทั้งการเข้ารับบริการ (Service recipient) ของผู้บริโภคและการเข้ามาลงทุนในธุรกิจของนักลงทุน (Business investor) ประกอบกับธุรกิจมีการปรับตัวที่น่าสนใจจนสามารถตอบโจทย์ (Responsive) ความต้องการ (Demand) และเข้าถึงพฤติกรรม (Behavior) ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

ผลที่ตามมา (Consequence) คือ ทำให้ธุรกิจมีการขยาย (Expansion) ตัวอย่างมีนัยสำคัญ (Significant) ซึ่งการจากสำรวจ (Survey) นักลงทุนที่เข้ามาในตลาดธุรกิจกายภาพบำบัด พบว่า กิจการกีฬา (Sports business) ที่มียี่ห้อ (Brand) มองเห็นถึงโอกาส (Opportunity) ในการต่อยอดธุรกิจไปสู่ธุรกิจด้านดูแลสุขภาพ (Health-care)

มีการเข้ามาลงทุนจัดตั้งคลินิกกายภาพบำบัด และศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports-science center) ขนาดใหญ่ในประเทศไทย เป็นการเสริม (Supplement) ธุรกิจด้านกีฬาที่ดำเนินกิจการอยู่ ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร (One-stop service) เป็นทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic direction)

ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถเก็บข้อมูล (Data collection) พฤติกรรมผู้ใช้สินค้าและบริการเพื่อขยาย/ต่อยอดสินค้าและบริการ เพื่อสร้างรายได้ (Revenue generation) แก่ธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable) ในอนาคตคาดว่า (Future expectation) จะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในธุรกิจมากขึ้น ทั้งจากความนิยมและแนวโน้ม (Trend) ของธุรกิจ

ความต้องการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดการแข่งขัน (Competition) และพัฒนาการให้บริการที่มีคุณภาพ (Service quality) มากขึ้น ตลอดจนมีการนำเข้า (Import) เครื่องมือที่ทันสมัย (Modern equipment) มาให้บริการเพื่อดึงดูด (Attract) จำนวนผู้บริโภคได้มากขึ้น ธุรกิจกายภาพบำบัดยังคงมีที่ว่างสำหรับนักลงทุนชาวไทย/ต่างชาติ โดยขึ้นอยู่กับความพร้อม (Readiness) และความเป็นมืออาชีพของผู้ประกอบการ (Professional entrepreneur) เป็นหลัก ซึ่งผลที่ได้รับ (Out-come) คือ ผลประกอบการที่เป็นบวก (Favorable performance) และมีผลกำไรธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Continuous profitability)

แหล่งข้อมูล -

  1. https://www.thaipost.net/economy-news/408207/ [2024, February 1].
  2. https://www.bangkokhospital.com/en/content/work-from-home-and-office-syndrome [2024, February 1].