8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 18
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 ตุลาคม 2566
- Tweet
การบำบัดความเจ็บปวดจากโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก
ความปวด (Pain) จากการทำพฤติกรรมซ้ำๆ (Repetition) เช่น การใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ หรือเล่นเกมต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้ปวดกล้ามเนื้อ (Muscle) ไหล่หรือสะบัก (Sholder), คอ (Neck), และหลัง (Back) เป็นต้น สามารถรักษาได้ด้วยการออกกำลังกายโดยตัวผู้ป่วยเอง (Active rehabilitation)
โดยปรกติ แพทย์จะประเมิน (Assess) และวางแผนการรักษา (Treatment planning๗ และนักกายภาพบำบัด (Physical therapist: PT) ที่มีประสบการณ์จะคอยช่วยเหลือให้ผู้ป่วยออกกำลัง (Physical exercise) ได้เอง และสามารถดูแลตัวเองได้ที่บ้าน (Home care) ในระยะยาว
ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลเปิดใหม่ ยังมีเครื่องมือและเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่จะช่วยบำบัดความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculo-skeletal) เช่น เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High-power Laser [LASER = Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation]) ที่ช่วยซ่อมแซม (Repair) และลดการอักเสบ (Inflammation) ของเนื้อเยื่อ (Tissue) เพื่อบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว
เครื่องคลื่นกระแทก (Shock-wave) ที่จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดเกิดการบาดเจ็บ (Injury) ใหม่และกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อและหลั่งสาร (Secrete) ลดความปวด ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ (Natural) เป็นต้น รวมถึงการบำบัดโดยนักกายภาพบำบัดด้วยมือ (Manual therapy) เช่น การดัดไหล่ เป็นต้น
ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคระบบประสาท
ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ (Paralysis), อัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegia), พาร์กินสัน (Parkinson’s), การบาดเจ็บทางสมอง (Brain injury), และการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง (Spine) สามารถเข้ารับการฟื้นฟูระบบเคลื่อนไหว (Mobility), การกลืน (Swallow), และ การพูด (Speech) ด้วยทีมนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialty)
นักวิชาชีพ (Professional) ดังกล่าว มีความเข้าใจข้อจำกัด (Limitation) และสมรรถภาพ (Competency) ของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างถ่องแท้ โดยอาศัยนวัตกรรม (Innovation) เครื่องมือต่างๆ และธาราบำบัด (Hydro-therapy) ซึ่งจะช่วยพยุง (Support) ตัวผู้ป่วยและลดความเสี่ยง (Risk) ต่อการบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอด
ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ (Heart surgery) จะได้รับการตรวจประเมิน (Examination) จากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation physician) และวางแผนการเตรียมตัว (Preparation) ก่อนเข้าผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้ฝึกการหายใจ, การเดิน, และการเคลื่อนไหวจนคุ้นเคย
เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วจะสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ได้มีประสิทธิผลมากขึ้น และทำให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง สามารถพึ่งพาตนเอง (Self-dependent) ได้เร็วที่สุด การเริ่มฝึกก่อนผ่าตัด (Pre-surgery) จะได้ผลดีกว่าเริ่มฝึกหลังผ่าตัด (Post-surgery) เนื่องจากผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บ หรือมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถฝึกได้อย่างเต็มศักยภาพ (Potential)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.medparkhospital.com/center/physical-therapy-and-rehabilitation [2023, October 26].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Rehabilitation [2023, October 26].