3. ตลาดยา – ตอนที่ 17
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 ตุลาคม 2566
- Tweet
รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและยา อาทิ ระบบการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) และการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) อาทิ MorDee, Good Doctor, และ Clicknic ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีผู้ใช้บริการรวม 4 ล้านคน เพิ่มจาก 3 ล้านคนใน ปี พ.ศ. 2563 ทำให้แนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
สำหรับผู้ป่วยที่เคยใช้บริการที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่ม,โรคเรื้อรัง (Chronic) ได้แก่ โรคเบาหวาน (Diabetes), ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)ม โรคหืด (Asthma) และโรคจิตเวช (Mental illness) จะปรับมาใช้บริการที่ร้านยามากขึ้น เนื่องจากสะดวกและช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ (Infection) จากโรงพยาบาลได้
นอกจากนี้ การประกันสุขภาพ (Health insurance) กับบริษัทประกันชีวิต มีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้น 10.6%) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะหนุนความต้องการบริโภคยาเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่าปี พ.ศ. 2566 ถึง พ.ศ. 2568 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (ค่ายาและค่ารักษา) จะขยายตัวเฉลี่ยปีละ +7.6% จาก +7.0% ปีในปี พ.ศ. 2565 โดยภาครัฐขยายตัวปีละ +8.1% ต่อปี และเอกชนขยายตัวปีละ +5.7% เทียบกับ +7.6% และ +5.3% ในปี พ.ศ. 2564 และ ปี พ.ศ. 2565 ตามลำดับ
- ผู้ป่วยต่างชาติมีแนวโน้มกลับมาใช้บริการสถานพยาบาลในไทยมากขึ้นโดยหน่วงงานวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุทธา คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รวมนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ) จะอยู่ที่ 7 ล้านคน, 35.3 ล้านคน, และ 40.4 ล้านคน ในปี พ.ศ.2566, ปี พ.ศ. 2567, และปี พ.ศ. 2568 ตามลำดับ ส่วนมากจะมาจากเอเชียตะวันออก (East Asia), ยุโรป (Europe), และตะวันออกกลาง (Middle East)
อันเป็นผลจากการที่ไทยเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) อันดับต้นๆ ของโลก มีจุดขายด้านคุณภาพการให้บริการ (Service quality), มาตรฐานการรักษา (Treatment standard), และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ทั้งหมดนี้จะหนุนความต้องการบริโภคยาให้สูงขึ้น
- ความต้องการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกระแสการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ (Phenomenal) เมื่อมีการระบาดรุนแรงไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ในปี พ.ศ. 2563 โดยผู้บริโภคปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (Health-care behavior) ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเพื่อป้องกันโรค (Preventive) ต่างๆ
ขณะที่โรงพยาบาลและธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลต่างปรับกลยุทธ์ (Strategy) มาทำธุรกิจดูแลสุขภาพมากขึ้น จึงคาดว่าจะมีความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ยา (Pharmaceutical product) เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะยาเสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity) หรือป้องกันโรค เช่น วิตามิน, ยาสมุนไพร (Herb), ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม (Food supplement) และเครื่องดื่มเสริมโภชนาการ (Nutritional beverage) ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยามีแนวโน้มเพิ่มสายธุรกิจ (Business line) ทั้งการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพื่อเจาะตลาด (Market penetration) ผู้บริโภคกลุ่มนี้มากขึ้น
แหล่งข้อมูล –