3. ตลาดยา – ตอนที่ 44
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
รายงานจากหน่วยวิจัย Statista ประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมาก (High growth) ในตลาดเภสัชกรรม (Pharmaceutical market) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ความต้องการของลูกค้า – ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มต้องการบริการด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare) ที่มีคุณภาพ (Quality) สูงมากขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ยา (Drug) ที่มีคุณภาพ โดยต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาที่เข้าถึงได้ (Affordable), มีประสิทธิผล (Efficacy) และมีผลข้างเคียง (Side effect) น้อย นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสูงอายุ (Geriatric population) ในประเทศไทยยังนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง (Chronic) ซึ่งส่งผลให้ความต้องการ (Demand) ผลิตภัณฑ์ยาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มของตลาด – หนึ่งในแนวโน้ม (Trend) ที่สำคัญในตลาดเภสัชกรรมของไทยคือการเปลี่ยนไปใช้ยาชื่อสามัญ (Generic drugs) ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้ยาชื่อสามัญในราคาประหยัด (Savings) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Health expenditure) นอกจากนี้ยังมีการลงทุน (Investment) เพิ่มขึ้นในงานวิจัยและพัฒนาโดยบริษัทเภสัชกรรม เพื่อพัฒนายาและการรักษานวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในบริการด้านสุขภาพ เช่น โทรเวชกรรม (Telemedicine) และร้านขายยาออนไลน์ (e-pharmacies) ก็กำลังเพิ่มขึ้น ทำให้การเข้าถึงบริการ (Access) สุขภาพสะดวก (Convenience) และง่ายดายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค
สภาพแวดล้อมพิเศษในท้องถิ่น – รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบาย (Policy) หลายประการเพื่อส่งเสริม (Promote) การเติบโตของตลาดเภสัชกรรม เช่น การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งประเทศไทย (Thailand Center of Excellence for Life Sciences: TCELS) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax incentive) เพื่อดึงดูด (Attract) บริษัทเภสัชกรรมจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน (Invest) ในประเทศ
ปัจจัยมหภาคพื้นฐาน – การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง (Economic strength) ของประเทศไทยและการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยอำนวย (Facilitate) ให้ตลาดเภสัชกรรมเติบโต นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งเชิงกลยุทธ์ (Strategic location) ของประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่พัฒนาอย่างดี ทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ที่น่าสนใจ (Interesting) สำหรับบริษัทเภสัชกรรมที่จะลงทุน
สรุป: ตลาดเภสัชกรรมของประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมาก (Considerably) จากความต้องการ (Demand) ที่เพิ่มขึ้นสำหรับบริการสุขภาพคุณภาพสูง, การเปลี่ยนไปใช้ยาชื่อสามัญ, และนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุน (Support) อุตสาหกรรม, การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic environment) ที่เอื้ออำนวยของประเทศก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของตลาดเช่นกัน โดยมีจุดเด่น (Highlight) ดังต่อไปนี้
- รายได้ในตลาดเภสัชกรรมของไทยจะบรรลุ 2,092 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 71,015 ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2024
- ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในคือตลาดยารักษาโรคมะเร็ง โดยมีมูลค่าตลาด (Marlet value) อยู่ที่ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,420.5 ล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2024
- รายได้ในตลาดเภสัชกรรมของไทย จะเติบโตในอัตราเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) 3.74% (ช่วงปี ค.ศ. 2024 ถึง 2029) ส่งผลให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 2,514 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 87,990 ล้านบาท) ภายในปี ค.ศ. 2029
- เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ คาดว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีรายได้สูงสุดที่ 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 22,060.5D ล้านบาท) ในปี ค.ศ. 2024
- ตลาดเภสัชกรรมของประเทศไทยกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นสำหรับยาสมุนไพรและการรักษาแบบดั้งเดิม (Traditional)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.statista.com/outlook/hmo/pharmaceuticals/thailand [2024, November 4].
- https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, November 4].