2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 40

ในกลุ่มผู้สูงวัย สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook และ LINE App ต่างได้รับความนิยม (Popular) เป็นอย่างมาก จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งข้อมูลหลัก (Main-stream) ของคนกลุ่มนี้อย่างไม่น่าเชื่อ

จากการสำรวจ (Survey) มี 81% ของกลุ่มผู้บริโภคบอกว่า ได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ผ่านช่องทางนี้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแซงหน้า (Over-take) ช่องทางแบบเดิม (Traditional) เช่น โทรทัศน์ไปแล้ว (ที่ 72%) โดยมีช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ที่เบียดขึ้นมาใกล้ๆ เป็นอันดับสาม (ที่ 59%)

ช่องทางบอกต่อผ่านเพื่อน 44%, สื่อในร้านค้า 32%, สื่อนอกสถานที่ 29%, หนังสือพิมพ์/นิตยสาร 17%, วิทยุ 13%, ตัวแทนประกัน 5%, และอื่นๆ อีก 2% ส่วนในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application: App) ที่ใช้ประจำ จะเป็น LINE 97%, Facebook 90%, Instagram 36%, และ Twitter 28%

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่ากลุ่มสูงวัยนี้ มีความกังวล (Concern) ทางด้านสุขภาพค่อนข้างสูง ซึ่งก่อให้เกิดกิจกรรม (Activity) หรือพฤติกรรม (Behavior) ที่หลากหลายในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกัน (Preventive) โรคต่างๆ โดยที่ 57% ของกลุ่มคนสูงอายุนี้บอกว่าเขาออกกำลังกาย (Exercise) สม่ำเสมอและเป็นประจำ (Routine) แทบจะทุกวัน

ในเรื่องความถี่ (Frequency) 36% ออกกำลังกายทุกวัน, 41% ออกกำลังกายทุกๆ 2 – 3 วัน, 12% ออกกำลังกายทุกๆ 4 – 5 วัน, 8% ออกกำลังกายสัปดาห์ละครั้ง, 1% ออกกำลังกายเดือนละ 2 – 3 ครั้ง, 1% ออกกำลังกายน้อยกว่าเดือนละครั้ง

ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องอาหาร (Diet) ก็เป็นอีกปัจจัยที่กลุ่มผู้บริโภคสูงอายุนี้ ให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องการออกกำลังกาย โดย 57% บอกว่า เขามักจะควบคุม (Control) น้ำหนัก โดยที่ 47% เลี่ยงอาหารมัน (Fatty) และอาหารหวาน (Sweet) หรือแม้แต่รับประทานน้อยลง ให้เหมาะสมกับวัย, และ 36% ค่อนข้างเลือก (Choosy) อาหารการกินเพื่อให้เหมาะกับสุขภาพและวัย

นอกจากนี้ 51% พบแพทย์เป็นประจำตามที่นัดหมาย, 40% กินยาประจำตามคำสั่งแพทย์ (Prescription), และ 39% กินอาหารเสริม (Food supplement) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง (Healthy)

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development) เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy) ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง กลุ่มผู้สูงอายุเองก็ไม่ต่างกับกลุ่มอื่น พวกเขายังมองหาผลิตใหม่ๆ (New offering) อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์หรือการบริการ (Service) ที่ทำมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ

ในเรื่องทัศนคติ (Attitude) ต่อนวัตกรรม (Innovation) 84% ของผู้เข้ารับการสำรวจ เปิดใจรับยี่ห้อ (Brand) ใหม่ๆ เสมอ, 79% ยินดีจะจ่ายแพงกว่า เพื่อให้ได้คุณภาพ (Quality) ที่สูงกว่า, 77% ชอบทดลอง (Trial) ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่พัฒนาให้ผู้สูงวัย, แลt 68% มองหา (Seek) ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสมอ

ยิ่งไปกว่านั้น เขายังมีแนวโน้ม (Trend) ที่จะเปลี่ยนยี่ห้อ ยินดีที่จะทดลอง (Experiment) สิ่งใหม่ๆ และจะจ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย ตราบใดที่ยี่ห้อใหม่นั้น ช่วยตอบสนอง (Respond) ต่อความต้องการ (Need) ที่แตกต่าง (Differentiation) จากคนทั่วไป (General public) ได้

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2726367 [2024, September 8].
  2. https://www.marketingthai.or.th/silver-ocean-marketing/ [2024, September 8].