2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 38

สำหรับภาครัฐบาล (Public sector) ต้องดำเนินนโยบายที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยง (Risk) ในการขาดแคลนแรงงาน (Labor shortage) พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิต (Life quality) ของผู้สูงอายุ (Silver generation) โดยศึกษาตัวอย่างของรัฐบาลต่างประเทศมาประยุกต์ (Apply) ให้เข้ากับบริบท (Context) ของประเทศไทย ซึ่งมีแนวทาง (Guideline) ดังนี้  

  • กระตุ้น (Encourage) ให้ประชาชนมีลูก เพื่อแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำ (Low birth rate) และปรับเปลี่ยนโครงสร้าง (Structure) อายุประชากร (Population) ในระยะยาว ผ่านการเพิ่มเงินอุดหนุน (Subsidy) และ (Welfare benefit) สวัสดิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการมีบุตร  
  • ขยายอายุเกษียณ (Retirement extension) และสนับสนุนการจ้างงาน (Employment) ผู้สูงอายุ เพื่อให้มีกำลังแรงงาน (Work-force) ในระบบเศรษฐกิจต่อไป เช่น ญี่ปุ่นปรับอายุเกษียณอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2564 กำหนดอายุเกษียณเป็น 70 ปี 
  • ยกระดับ (Elevate) สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุผ่านกองทุนประกันสังคม (Social security), ประกันสุขภาพ (Health insurance), และระบบบำนาญ (Pension) เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนกลุ่ม Silver gen

ในอีกมิติหนึ่ง Image Thailand [บริษัทวิจัยการตลาด] ได้ตีพิมพ์เรื่อง “การตลาดทะเลสีเงิน” (Silver ocean marketing) ว่าอีกหนึ่งปีได้ผ่านพ้นไป ทั้งภาครัฐ (Public sector) หรือภาคเอกชน (Private sector) ต่างประสบ (Confront) ปัญหาต่างๆ มากมาย

หนึ่งในความท้าทาย (Challenge) ที่เริ่มมีบทบาท (Role) มากขึ้นก็คือ การที่ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ (Approaching) สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์แบบ (Completely-aged society) โดยทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (Office of the National Economic and Social Development Council) คาดการณ์ (Forecast) ว่า

ประเทศไทยจะมีประชากร (Population) ไทยอายุ 60 ปี ขึ้นไป เป็นสัดส่วน (Proportion) 20% ของประชากรทั้งหมดในปีนี้ และในปี พ.ศ. 2574 สัดส่วนจะเพิ่มสูงถึง 28% เข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged society) ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะยังมีบทบาทน้อย ในส่วนของการมีส่วนร่วมทางการตลาด (Marketing participation)

แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (Environment shift) ประกอบกับสัดส่วนผู้บริโภคสูงวัย (Geriatric consumer) ที่มากขึ้น ภาคธุรกิจ (Business sector) จึงไม่ควรที่จะมองข้าม (Over-look) กลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้าสูงวัย เป็นอย่างยิ่ง

สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอในหลักการการตลาด (Principles of marketing) คือ การรู้จักลูกค้าของตัวเอง (Know your customer) หากรู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร, ชอบหรือไม่ชอบอะไร, มีวิถีใช้ชีวิต (Life-style) อย่างไร มีทัศนคติ (Attitude) อย่างไร เราจะสามารถเรียนรู้ความต้องการ (Need) ของเขา เพื่อตอบโจทย์ (Response) ทางธุรกิจของเรา

บริษัท อินเทจ ประเทศไทย ศึกษาพฤติกรรม (Behavior) ผู้บริโภคแบบลงลึก (Deep profile) ผ่านทางแบบสอบถาม (Questionnaire) ของ INTAGE Asian Panel ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มคนสูงวัย (Silver panel) ใน 5 หัวข้อย่อย ดังนี้

  • WHO - ข้อมูลเชิงประชากรและวิถีชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุ, (2) Purchase - การจับจ่ายใช้สอยที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่เกี่ยวข้อง, (3) Online adoption - บทบาทของสื่อออนไลน์หรือเทคโนโลยีในชีวิต, (4) Health - ความรู้ ความเข้าใจ และความกังวลทางด้านสุขภาพ, และ (5) Innovation– ความรู้และความเข้าใจด้านนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2726367 [2024, August 11].
  2. https://www.marketingthai.or.th/silver-ocean-marketing/ [2024, August 11].