10. ตลาดประกันสุขภาพ - ตอนที่ 4

ตลาดประกันสุขภาพ

การประกันสุขภาพ คือการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในวันที่สุขภาพยังแข็งแรงดี เพื่อรับมือกับภัยของความเสี่ยงในชีวิต ตัวอย่างโรคอันตรายต่อชีวิต คือโรคมะเร็ง “ค่ารักษามะเร็งแพงเป็นล้าน” ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงอย่างที่ใครๆ ชอบพูดกัน แม้เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การรักษาโรคมะเร็งเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก แต่ค่ารักษาโรคมะเร็งก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดัง 3 วิธีการต่อไปนี้

  1. รังสีรักษา (Radio-therapy) มีใช้จ่ายสูงสุด 200,000 บาท โดยการบำบัดโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายแสง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 รูปแบบคือ
  • การฉายรังสีแบบ 2 มิติ (Conventional radio-therapy)
  • การฉายรังสีแบบ 3 มิติ (Three-dimension conformal radio-therapy)
  • การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity-modulated radiation therapy)
  • การฉายรังสีแบบหมุนรอบตัว (Dynamic arc radiation therapy)
  • การฉายรังสีแบบปรับความเข้มที่หมุนรอบตัวผ (Volumetric Intensity Modulated arc therapy)

ข้อดีของโรงพยาบาลของรัฐบาลก็คือมีค่ารักษาที่ถูกกว่า และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย แต่ก็อาจจะต้องรอคิวยาว (Long queue) เพื่อรับการรักษา เนื่องจากปริมาณผู้ป่วยค่อนข้างสูง

บ่อยครั้งด้วยความจำเป็นในชีวิตประจำวันและความเร่งด่วนในการรักษาทำให้ผู้ป่วยและครอบครัว ตัดสินใจเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีค่ารักษาที่สูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาล 2.5 ถึง 7 เท่า และค่ายามีราคาที่สูงกว่า 40 ถึง 600 เท่าเลยทีเดียว ทำให้สุดท้ายแล้วรวมๆ กัน ค่ารักษาโรคมะเร็งสูงถึง 1,000,000 บาท ได้

  1. เคมีบำบัด (Chemo-therapy) เป็นการให้ยาเพื่อทำลายหรือหยุดยั้ง (Suppress) การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดมีทั้งชนิดกินและชนิดฉีด การทำเคมีบำบัดแต่ละรอบ ทุก 2 ถึง 4 สัปดาห์ อาจประกอบด้วยยาหลายชนิดในวันเดียว หรือหลายวันติดต่อกัน หรือสัปดาห์ละครั้งก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคมะเร็ง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย

ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชนกรณีเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน (In-patient) มีราคาตั้งแต่ 50,000 ถึง 100,000 บาทต่อรอบการรักษา ขึ้นอยู่กับตัวยาและค่าห้องของโรงพยาบาลที่เลือก ทั้งนี้การรักษาอาจกินเวลา 4 ถึง 6 สัปดาห์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียง (Side effect) จากการให้เคมีบำบัด ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานและรายได้ประจำด้วย

  1. ยารักษามะเร็งอย่างตรงจุด (Targeted cancer therapy) เป็นยารักษามะเร็งอย่างตรงจุด แตกต่างจากการให้เคมีบำบัดตรงที่เน้นการรักษาที่ตรงจุด กล่าวคือตัวยาจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรงได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยลดผลข้างเคียงที่มีต่อเซลล์ปรกติ แต่เป็นยาที่ราคาแพงมาก ตั้งแต่ 50,000 บาท ไปจนถึง 300,000 บาทต่อเดือน และการรักษาอาจยืดเยื้อเป็นปีได้ หากคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ก็ประมาณ 1 ล้านบาท ใน 3 เดือน

แหล่งข้อมูล

  1. https://ifwd.fwd.co.th/blog/cancer-cost/ [2023, April 21].
  2. ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [2023, April 21].