14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 41
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 ตุลาคม 2567
- Tweet
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กล่าวต่อไปว่า จุดอ่อน (Weakness) ในการดูแลสุขภาพของคนไทย คือ การตรวจสุขภาพ (Physical examination) คนไทยตรวจสุขภาพประจำปี (Annual) กันน้อยมาก ถ้าไม่มีโรค หรือแม้สงสัยว่าตัวเองเป็นโรค หลายคนไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี
ดังนั้น หากจะให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น (Healthier) ควรจะมีการส่งเสริม (Promote) ให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และควรจะผลักดัน (Drive) ให้ดูแลสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) ซึ่งมีหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Related business) อันเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเริ่มได้ (Initiate) ด้วยตนเอง
“ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน (Collaborate) ในการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึง (Access) การตรวจสุขภาพ เพราะจะเป็นข้อมูลเชิงลึก (In depth) ของแต่ละบุคคล อันนำมาใช้ในการดูแล (Care) และป้องกัน (Prevent) โรคต่างๆ ได้ ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาเกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของเชื้อไวรัส (Covid-19) . . .
. . . ถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือน (Warning signal) ให้แก่ทุกคนว่าต้องปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ของตนเอง ทั้งการรับประทานอาหาร (Diet), การออกกำลังกาย (Exercise), และลดการใช้เทคโนโลยีหลากหลาย ที่อาจจะทำให้สะดวกสบาย (Facilitate) แต่เสียสุขภาพ (Unhealthy) และต้องดูที่ความสมดุล (Balance) ของร่างกายของตนเอง” ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กล่าว
โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง (High risk), ผู้สูงอายุ (Elderly), ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (Chronic) ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าร่างกายมีความเสื่อม (Deterioration) มากน้อยขนาดไหน มีโรคอะไรบ้างที่ต้องดูแลไม่ให้เกิดความรุนแรง (Severity) หรือรักษาหาย (Treatment) เพราะการรักษาโรคที่ดีไม่ใช่เพียงกินยาแต่ต้องปรับวิถีการใช้ชีวิต เพื่อให้มีคุณภาพชีวิต (Life quality) ที่ดีขึ้น
อันที่จริง คำว่า “สุขภาะสมบูรณ์” มีหลายความหมาย ซึ่งถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่โดยทั่วไป หมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกาย (Physical) และจิตใจหรืออารมณ์ความรู้สึก (Emotional)
โดยเฉพาะการทำงานปรกติ (Normal functioning) ของร่างกายมนุษย์ ปราศจาก (Absent) โรคและความเจ็บปวด (รวมถึงความเจ็บปวดทางจิตใจ [Mental pain]) หรือการบาดเจ็บ (Injury)
สุขภาวะสมบูรณ์ สามารถส่งเสริมได้โดยการสนับสนุน (Encourage) กิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (Regularly) และการนอนหลับที่เพียงพอ (Adequate) และโดยการลดหรือหลีกเลี่ยง (Avoid)กิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ (Smoking) หรือความเครียด (Stress) มากเกินไป (Excessive)
ปัจจัย (Factor) บางอย่างที่มีผลต่อสุขภาพมาจากการเลือกส่วนบุคคล (Individual choice) เช่น การตัดสินใจ (Decision-making) ว่าจะทำพฤติกรรมเสี่ยง (Risky behavior) หรือไม่ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ เกิดจากสาเหตุเชิงโครงสร้าง (Structural) เช่น สภาพสังคมที่อาจทำให้ผู้คนได้รับบริการด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้นหรือลำบากขึ้น ปัจจัยอื่น ๆ นั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมของทั้งบุคคลและกลุ่ม เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม (Genetic disorder)
แหล่งข้อมูล –
- https://w9wellness.com/th/ธุรกิจ-wellness/ [2024, October 4].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Health [2024, October 4].