14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 38


5. ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

เป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูง (High growth) จากกระแสการท่องเที่ยวยุคใหม่ ที่ใส่ใจสุขภาพ (Health consciousness)มากขึ้น ทั้งในระดับโลก (Global) และในประเทศ (Domestic) โดยแม้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวไทยยังเน้น (Focus) การออกมาใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ (Natural) ในบรรยากาศที่เงียบสงบ (Quiet environment) เพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลาย (Relaxation)

แต่การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health tourism) และสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) โดยเฉพาะ หรือการทำกิจกรรมสุขภาวะสมบูรณ์ ระหว่างการท่องเที่ยว (Travel) ก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวสายสุขภาพไม่น้อย ซึ่งบริการที่นักท่องเที่ยวสายสุขภาพส่วนมากสนใจที่จะใช้บริการระหว่างท่องเที่ยว ได้แก่ บริการนวด (Massage) และสปา (Spa), อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy food), และห้องพัก (Lodge) ที่ใส่ใจสุขภาพของผู้เข้าพัก เป็นต้น

จากที่ผู้บริโภคแต่ละคนมีเป้าหมาย (Goal) ด้านสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ตามวิถีการใช้ชีวิต (Life style) และพฤติกรรมเสี่ยง (Risk behavior) ธุรกิจด้านสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์จึงจำเป็นต้องศึกษา (Study) และเข้าใจ (Understand) เป้าหมายของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม แล้วสร้างความแตกต่าง (Differentiation) จากคู่แข่งขัน เพื่อได้ใจผู้บริโภค

3 กลยุทธ์หลัก ที่จะดึงดูดผู้ใช้บริการและเสริมจุดแข็งของธุรกิจให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น ได้แก่

  1. การนำเสนอรายการเหมาจ่าย (Package) สินค้า/บริการสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์ ที่ครอบคลุม (Cover) ในหลากหลายด้าน เนื่องจากผู้ซื้อสินค้า/ใช้บริการด้านสุขภาพ มักจะเป็นกลุ่มรักสุขภาพ และสนใจบริการสุขภาวะสมบูรณ์ควบคู่กัน เช่น ผู้ที่ให้ความสนใจในอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy food) มักจะมีความสนใจการออกกำลังกาย (Exercise) ควบคู่ไปด้วย

ดังนั้น จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ในการขยายขอบเขต (Scope expansion) ไปยังด้านอื่นๆ ของธุรกิจสุขภาวะสมบูรณ์เพื่อสร้างรายได้ (Revenue) เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจอาจจะต้องเลือก (Select) ขยายบริการที่เหมาะสม (Suitable) กับจุดแข็ง (Strength) ของตนเอง หรือหาพันธมิตร (Alliance) ทางธุรกิจที่มีจุดแข็งในด้านนั้น ๆ เพื่อไม่สร้างภาระ (Burden) ต่อธุรกิจในภายหน้า ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง (Highly competitive) ทุกวี่วัน

  1. การทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalization) เนื่องจากผู้ใช้บริการด้านสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์ส่วนมาก มีความต้องการบริการในรูปแบบส่วนตัว ดังนั้น การแสดงถึงความเอาใจใส่ (Attention) และความเข้าใจพฤติกรรม (Behavior) ของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่ม จะสามารถดึงดูดผู้ใช้บริการใหม่และมัดใจ (Impress) ผู้ใช้บริการเดิมได้ อีกทั้ง ธุรกิจยังสามารถออกแบบ (Design) การบริการที่ตอบโจทย์ (Response) ความต้องการ (Want) ของผู้ใช้บริการได้ตรงจุด (Precise) มากขึ้น
  1. การตั้งราคา (Pricing) ที่เข้าถึงได้ (Affordable) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคส่วนมากยังมีความเข้าใจว่า สินค้า/บริการด้านสุขภาพและสุขภาวะสมบูรณ์นั้น จะมีราคาที่ค่อนข้าง (Relatively) สูงกว่าปรกติ ซึ่งการสร้างความเข้าใจ (Understanding) ใหม่ควบคู่ไปกับการตั้งราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้นถือเป็นโจทย์อันท้าทาย (Challenging) ของผู้ประกอบการ

แหล่งข้อมูล – 

  1. https://moneyandbanking.co.th/2023/82046/ [2024, August 23].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Wellness_(alternative_medicine) [2024, August 23].