14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 23

Wellness Tech 13 คือ กลุ่มธุรกิจที่จะสามารถเติบโตได้ดี [โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา] จนประสบความสำเร็จ ได้แก่

  1. กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food and beverage)

การมีความเป็นอยู่ที่ดีนั้น ต้องเริ่มมาจากการกินและดื่มเพื่อสุขภาพ ภาคธุรกิจกลุ่มนี้จึงทำธุรกิจที่มาจากความต้องการของผู้บริโภค (Consumer demand) ที่คำนึงเรื่องสุขภาพเป็นหลัก คนกลุ่มนี้ต้องการกินและดื่มในสิ่งที่ไม่ทำร้ายร่างกาย จึงเป็นกระแส (Fever) ที่ทำให้คนหันมาเลือกวัตถุดิบจำพวกธรรมชาติ (Organic) หรือ non-GMO (Genetically modified organism = สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม) กันมากขึ้น รวมถึงเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อาทิ การล้างพิษ (Detoxification) และ ชาหมัก (Kombucha)  เป็นต้น ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ในกลุ่มนี้เช่น Daily Harvest ที่ให้บริการทั้งซื้อ และทำอาหารธรรมชาติพร้อมจัดส่งถึงบ้าน 

  1. กลุ่มวิตามินและอาหารเสริม (Vitamin and supplement)

ภาคธุรกิจกลุ่มนี้จะนำเสนอวิตามินและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพเฉพาะตัวบุคคล (Individualized) ตัวอย่างเช่น บริษัท care/of ที่ขายวิตามินโดยให้ลูกค้าตอบคำถามเบื้องต้น (Preliminary) นำผลมาวิเคราะห์ (Analyzed) แล้วนำเสนอวิตามินที่เหมาะสมกับแต่ละคน โดยจะจัดส่งถึงบ้านเป็นรายเดือน (Monthly delivery) เป็นต้น 

  1. กลุ่มโภชนาการอาหารเพื่อการออกกำลังกาย (Active Nutrition)

นอกจากกลุ่มคนทั่วๆ ไปที่หันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว กลุ่มที่มีศักยภาพและเติบโตมากขึ้นทุกปีคือ กลุ่มผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย (Physical exercise) ที่ต้องการอาหารเสริมทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย ผู้ประกอบการที่เข้ามาทำธุรกิจกับกลุ่มเป้าหมายนี้ เช่น Foodspring ที่พัฒนาอาหารเสริม, เครื่องดื่ม, ขนมแบบธรรมชาติ เพื่อตอบโจทย์ที่หลากหลายของผู้ออกกำลังกาย เช่นต้องการสร้างกล้ามเนื้อ (Muscle building), ควบคุมและลดน้ำหนัก (Weight control and loss) เป็นต้น 

  1. กลุ่มเทคโนโลยีทางโภชนาการ (Nutrition Tech)

ภาคธุรกิจในส่วนนี้จะนำเสนอเวทีพื้นฐาน (Platform) โภชนาการส่วนบุคคล เช่น บริษัท Viome ที่จะวิเคราะห์รูปแบบ (Profile) ทางชีวเคมี (Bio-chemistry) ของผู้ใช้งาน เพื่อจะได้ให้คำแนะนำเรื่องการควบคุมอาหาร สำหรับลดน้ำหนัก ตามวิถีใช้ชีวิต (Life-style) ของแต่ละบุคคล 

  1. กลุ่มฟิตเน็ส (Fitness)

จากการทำธุรกิจฟิตเน็สแบบเดิมที่มีสถานที่ตั้ง (Location) แล้วให้คนมาออกกำลังกาย ในยุคนี้ภาคธุรกิจด้านฟิตเนส เห็นปัญหาว่าคนมักจะไม่ค่อยมีเวลาหรือทำงานกันยุ่งมาก ทำให้คนที่ชอบออกกำลังกายแต่ไม่สามารถไปโรงยิม (Gymnasium) ได้ ก็คิดบริการใหม่สำหรับการนำโรงยิมไปส่ง (Deliver) ถึงที่ทำงานหรือที่บ้านกันเลยทีเดียว หรือแม้แต่การให้บริการจองคิว (Queuing) การออกกำลังกายกับฟิตเน็ส หรือผู้ฝึกสอน (Trainer) ชื่อดัง เป็นต้น ผู้ประกอบการที่น่าสนใจที่ทำธุรกิจในกลุ่มนี้ เช่น บริษัท MIRROR ที่ทำธุรกิจตามชื่อ นั่นก็คือผู้ใช้งานสามารถออกกำลังกายหน้ากระจก (อุปกรณ์เฉพาะของ MIRROR) ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere anytime) 

แหล่งข้อมูล – 

  1. https://www.bangkokbanksme.com/en/7sme1-health-and-wellness-mega-trend-grows-strong [2024, January 10].
  2. https://globalwellnessinstitute.org/press-room/statistics-and-facts/ [2024, January 10].