14. ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส - ตอนที่ 5

ตลาดธุรกิจฟิตเน็ส-เว็ลเน็ส

ในด้านสภาพคล่องของธุรกิจ (Liquidity) พิจารณาจากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current ratio) พบว่า ธุรกิจมีสภาพคล่องดีขึ้น จากจำนวนหนี้สินหมุนเวียนที่ลดลง ทั้งนี้หนี้สินรวมของกิจการก็ลดลงเช่นเดียวกัน แสดงว่ากิจการมีภาระหนี้สินที่ลดลง ในขณะที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น

ธุรกิจขนาดเล็กเป็นขนาดธุรกิจที่มีผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ต่ำ (Return on assets: OA) ที่สุด เนื่องจากประสบภาวะขาดทุนตลอด 3 ปี อย่างไรก็ตาม ROA ดีขึ้นตามลำดับ โดยมีอัตรากำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้นทุกปี และประสบภาวะขาดทุนลดลง ธุรกิจขนาดเล็ก มีอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ระหว่าง 0.50 ถึง 0.55

มีการพยากรณ์ว่า ธุรกิจฟิตเน็ส (Fitness) จะเป็นอีกธุรกิจที่เติบโตอย่างน่าสนใจ เนื่องจากคนหันมาใส่ใจสุขภาพ (Health consciousness) กันมากขึ้น แม้ว่าธุรกิจนี้จะเริ่มมีสภาวะในการแข่งขัน (Competition) สูง เนื่องจากผู้เล่นทั้งไทยและต่างชาติที่พยายามเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดสุขภาพ (Health market) ของไทย

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของคนออกกำลังกายในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ หากผู้ประกอบการสามารถจูงใจ (Inspire) ให้คนมาออกกำลังกายกันมากขึ้น ตลาดนี้จะมีช่องว่างสำหรับผู้เล่น (Player) รายใหม่ให้สามารถเติบโตได้อีกมาก

ในปัจจุบันรูปแบบ (Pattern) ของการให้บริการฟิตเน็สได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เน้นการให้บริการอุปกรณ์เครื่องเล่นออกกำลังกาย ได้เพิ่มรูปแบบในการออกกำลังกายให้หลากหลายขึ้น เช่น เพิ่มชั้นเรียน (Class) พิเศษ สอนการเต้น, การปีนเขา, การเล่นโยคะ เป็นต้น อีกทั้งยังมีฟิตเน็สที่เน้นออกกำลังกาย เฉพาะทาง เช่น การออกกำลังกายแบบมวยไทย

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องเล่นสำหรับกระโดด ที่เพิ่มทักษะและเสริมพัฒนาการเด็ก (Trampoline) ด้วยความแปลกใหม่เหล่านี้ ช่วยให้ธุรกิจเจาะตลาดที่เฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น โดยดึงดูด (Attract) กลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัย ให้สามารถค้นหาการออกกำลังกายที่เหมาะกับตนเอง และคนไทยชอบออกกำลังกายกับเพื่อน จึงมีชั้นเรียนพิเศษต่างหาก

ฟิตเน็สมีกลยุทธ์ (Strategy) การตลาดที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกและความถี่ในการเข้าใช้บริการของลูกค้า แต่ความท้าทายของธุรกิจนี้ อยู่ที่การบริหารค่าใช้จ่าย, การเพิ่มสมาชิก, และการรักษาลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้ในระยะยาว ผู้ประกอบการต้องมีแผนการบริหารที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพของฟิตเน็ส

ในด้านกายภาพ ต้องมีความสะอาด ตั้งแต่บริเวณต้อนรับ ไปถึง โถง (Gymnasium) ออกกำลังกาย, ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า, ตู้เก็บเสื้อผ้าและสิ่งของ (Locker), ห้องอาบน้ำ และห้องสุขา ส่วนผู้ฝึกสอน (Trainer) ก็ต้องมีทั้งแบบคิดค่าบริการแบบให้ฟรี

อันที่จริง ธุรกิจนี้มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน จะง่ายต่อการวางแผน, พัฒนากลยุทธ์, รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ (Image) และจุดเด่นของธุรกิจ โดยมีการออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ, เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน, และสร้างความประทับใจ (Impression) เพื่อให้เกิดความภักดีต่อยี่ห้อ (Brand loyalty) ในกลุ่มลูกค้า

แหล่งข้อมูล

  1. http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/1475/3/03%20.pdf [2023, April 28].
  2. https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_pdf [2023, April 28].