12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 32
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 30 พฤษภาคม 2567
- Tweet
ปัจจุบันนี้เห็นได้ชัดว่า (Trend) การดูแลสุขภาพ (Health-care) กำลังได้รับความนิยม (Popular) มากขึ้น ผู้คนต่างตื่นตัวหันมาให้ความสำคัญในการใส่ใจดูแลตัวเอง (Self-care) โดยเฉพาะการชะลอวัย (Anti-aging) ด้วยโภชนบำบัด (Nutrition therapy) การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง (Healthy) และช่วยชะลอความแก่โดยไม่ใช้ยานั้น เป็นทางเลือก (Alternative) เพื่อสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน (Sustainable)
แนวโน้ม (Trend) ดังกล่าวเห็นได้ชัดหลังจากการแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้คนยุคใหม่ (New generation) หันมาใส่ใจสุขภาพเชิงป้องกัน (Preventive) มากขึ้น อีกทั้งการเดินหน้าเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging society) ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้สูงอายุคนไทยเพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนคน และคาดว่าในปี ค.ศ. 2568 ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completely-aged) โดยจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ต่อประชากร 5 คน
กลุ่มผู้สูงวัยที่รู้จักตามสีผมว่า (Silver age) ยังคงต้องการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง (Active) ให้มากที่สุด ส่งผลให้การชะลอวัยแบบองค์รวม (Holistic) ได้รับความนิยม (Popular) เพิ่มมากขึ้น บริการทางการแพทย์และบริการอื่นๆ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาไปสู่การดูแลไม่ใช่แค่ร่างกาย (Physical) เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงจิตใจ (Mental), ที่อยู่อาศัย (Residence) และด้านสังคม (Social) คุณภาพชีวิต (Quality of life) เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติ (All dimensions)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ (NCC Management and Development) จำกัด กล่าวว่า หากดูการคาดการณ์ (Forecast) เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพทั่วโลก (Global wellness economy) จาก Global Wellness Institute (GWI) พบว่า ในปี พ.ศ. 2568 คาดจะมีมูลค่าตลาด (Market value) ประมาณ 7 ล้านล้านเหรียสหรัฐ (ประมาณ 245 ล้านล้านบาท)
ธุรกิจสุขภาวะสมบูรณ์ (Wellness) หรือการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา เป็นอีกหนึ่งแนวโน้มมหึมา (Mega-trend) ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Continuous growth) ไม่เพียงเท่านี้ กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness tourism) ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น GWI ประเมินว่า ตลาดดังกล่าวจะมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2567 (ประมาณ 35 ล้านล้านบาท) อีกทั้ง ในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นจุดหมายปลาทางเชิงสุขภาพ (Wellness destination) อันดับ 2 ของโลก
กระแสสุขภาพ (Health fever) และแนวโน้มการเติบโตทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เพราะความมั่งคั่งที่แท้จริง คือ การที่มีสุขภาพที่ดี (Health is wealth) ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้จัดงานด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่องาน “InterCare Asia” (อินเตอร์แคร์ เอเชีย) ซึ่งในปีนี้งานนี้ ได้รวบรวมสินค้า, บริการ, และกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เพื่อการพัฒนาสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมตอบโจทย์ (Response) ความต้องการ (Demand) ของคนยุคใหม่
งานแสดงสินค้า (Exhibition) ดังกล่าว เปิดรับผู้เข้าชมงาน (Visitor) ทั้งจากภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไป โดยประกอบด้วยสินค้าที่สนองความเป็นอยู่ (Life style), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement), เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Health beverage), อุปกรณ์และสินค้าเพื่อความงามและชะลอวัย, อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical equipment), และฟื้นฟูสมรรถภาพ (Physical rehabilitation), การวางแผนเพื่อเกษียณ (Retirement), ที่อยู่อาศัย (Residence), และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care)
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับนิตยสารชั้นนำสำหรับผู้สูงวัย (Geriatric magazine) เปิดพื้นที่พิเศษเพื่อแบ่งปันความห่วงใย และร่วมแบ่งปันกำลังใจ ในโซน “Share & Care แค่รักยังไม่พอ” โดยการสนับสนุนของสมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย และเป็นเวทีรวบรวมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, โรงพยาบาล, อาหารสุขภาพ, และผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
แหล่งข้อมูล –