12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย – ตอนที่ 27
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 มีนาคม 2567
- Tweet
การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) เกิดขึ้นจากการค้นพบ (Finding) ของนักชีววิทยา (Biologist) ชาวแคนาดา 3 คน ชื่อ Ernest McCulloch, James Till, และ Andrew J. Becker ที่มหาวิทยาลัย Toronto และสถาบัน Ontario Cancer ในคริสตทศวรรษ 1960s
การบำบัด (Therapy) ด้วยเซลล์ต้นกำเนิด คือการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษา และป้องกันโรคหรือภาวะ (Condition) ทางการแพทย์ การปลูกถ่ายไขกระดูกสันหลัง (Bone-marrow transplant) เป็นรูปแบบหนึ่งของการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดที่ใช้มาหลายปี เนื่องจากได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิผลในการทดลอง (Trial) ทางคลินิก
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดอาจ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจด้านซ้าย (Left-ventricle) และคงไว้ (Retain) ซึ่งเนื้อเยื่อ (Tissue) หัวใจให้แก่ผู้ป่วยที่เคยทนทุกข์ทรมาน (Suffer) จากหัวใจล้ม (Heart attack) ในอดีต
กว่า 90 ปีมาแล้ว ที่ใช้การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Hematopoietic stem-cell transplantation - HSCT) เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) นี่คือวิธีการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดที่ปฏิบัติกัน (Practice) อย่างแพร่หลาย
ณ ปี ค.ศ. 2016 การใช้เซลล์ต้นกำเนิดได้รับการยอมรับ (Establish) ว่าเป็นวิธีเดียวสำหรับกรณี HSCT ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบ (Form) ของไขกระดูก แต่เซลล์ก็อาจได้มา (Derive) จาก เลือดสายสะดือ (Umbilical cord) ด้วย
การวิจัยกำลังดำเนินอยู่ (Underway) เพื่อพัฒนานานาแหล่งที่มาของเซลล์ต้นกำเนิด รวมถึงการประยุกต์ (Apply) การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด สำหรับโรคและภาวะจากความเสื่อมของระบบประสาท (Neuro-degenerative) รวมถึงโรคเบาหวาน (Diabetes) และโรคหัวใจ (Heart disease)
การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาจลดกลุ่มอาการ (Symptom) ของโรคหรือภาวะที่กำลังได้รับการรักษา การลดกลุ่มอาการเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ป่วย ลดปริมาณยาที่ต้องกิน (In-take) เพื่อรักษาโรคหรือภาวะ การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดยังสามารถให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่สังคม (Social benefit) เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดและการรักษาในอนาคต
เซลล์ต้นกำเนิดทำให้มันง่ายขึ้น ในคำปฏิญาณ (Creed) ของแพทย์ ที่ต้องไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ (No injury) แก่ผู้ป่วย กระบวนการผ่าตัด (Surgical process) มีลักษณะ (Character) ของอันตราย (Harmful) เช่น อาจต้องตัดเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ (Successful out-come)
เราอาจป้องกันอันตรายจากการแทรกแซง (Intervention) ด้วยการผ่าตัด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่หัตถการ (Procedure) นั้น อาจล้มเหลว ซึ่งทำให้ต้องผ่าตัดซ้ำ (Re-surgery) ความเสี่ยง (Risk) ที่เกี่ยวข้องกับการให้ยาสลบ (Anesthesia) อาจถูกกำจัด (Eliminate) ด้วยเซลล์ต้นกำเนิด
นอกจากนี้ เซลล์ต้นกำเนิดที่ถูกเก็บเกี่ยว (Harvest) จากร่างกายผู้ป่วย สามารถถ่ายโอน (Re-deploy) กลับไปยังร่างกายตนเอง (Autologous) วิธีการแก้ไข (Remedy) นี้ ปลอดภัยที่สุด เพราะมีความน่าจะเป็นเท่ากับศูนย์ (0) ที่ร่างกายผู้บริจาค (Donor) จะปฏิเสธ (Reject) สิ่งที่เป็นสาร (Substance) ของตนเอง
แหล่งข้อมูล
- https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_7577555 [2024, March 4].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Stem_cell [2024, March 4].