12. ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย - ตอนที่ 5

ตลาดคลินิกเสริมความงาม-ชะลอวัย

แรงกดดันที่ 3 คือ อำนาจต่อรองสูงของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย ดังนั้น หากผู้รับบริการเกิดความไม่พอใจจากคลิกนิกเสริมความงาม ก็อาจเกิดความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ [ตามข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทราวงพาณิชย์]

ในเรื่องความอ่อนไหวต่อราคา หากผู้รับบริการได้รับข้อเสนอจากคลินิกที่มีคุณภาพไม่แตกต่างกันในราคาที่ถูกกว่า จะทำให้ผู้รับบริการพร้อมที่จะเปลี่ยนคลินิก เนื่องจากผู้ให้บริการคลินิกเสริมความงามมีอยู่มากกว่า 3,000 ถึง 4,000 แห่งทั่วประเทศ ไม่นับรวมการให้บริการของคลินิกเสริมความงามในโรงพยาบาลอีกจำนวนมาก

ผู้รับบริการมีทางเลือกมากมาย การเปลี่ยนสถานที่รับบริการจึงมีต้นทุน (Switching cost) ต่ำ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งทดแทน (Substitute) หลากหลาย เช่น การเลือกดูแลผิวตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วยครีมบำรุงผิว, ครีมทากันแดด, การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์, หรือการรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติม

แรงกดดันที่ 4 คืออำนาจต่อรองของผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการรักษา เช่น เครื่องเลเซอร์ และเครื่องผลักวิตามินเข้าสู้ผิว ซึ่งมีจำนวนมาก แต่เครื่องมือแต่ละยี่ห้อก็มีความแตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพในการรักษา ทำให้เครื่องที่มีคุณภาพ มาตราฐานพร้อมความน่าเชื่อถือมีราคาสูง

ส่วนเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะเป็นเครื่องที่สั่งนำเข้า (Import) มาจากต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่บริษัท จ่งส่งผลผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีคุณภาพมีอำนาจต่อรองสูง ในขณะที่คลินิกเสริมความงามโดดเดี่ยว (Stand-alone) จะเสียเปรียบการแข่งขัน (Competitive advantage) เมื่อเปรียบเทียบกับคลินิกเสริมความที่มีหลายสาขา (Satellite)

ส่วนในเรื่องการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการรักษา ต้องมีปริมาณที่มากพอเพื่อการต่อรองในเรื่องราคา ส่งผลให้ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดสามารถควบคุมต้นทุนได้ดีกว่า เนื่องจากมีอำนาจการต่อรองราคาจากจำนวนการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในการรักษาได้มากกว่าคลินิกขนาดเล็ก

แรงกดดันที่ 5 คือ ความเสี่ยงของบริการและสินค้าทดแทน (Substitute) ผู้บริโภคที่ไม่ได้มีปัญหาผิวพรรณมากนัก สามารถหาความรู้และข้อมูลด้านการเสริมความงามด้วยตนเอง โดยสามารถเลือกซื้อเวชสำอาง (Medical cosmetics) มาใช้เอง ทำให้มีโอกาสเข้าใช้บริการคลินิกเสริมความงามลดลง [ตามข้อมูล ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย]

ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าทดแทน เช่น เครื่องประทินผิว (Skin care) มีส่วนแบ่งทางการตลาด (Market share) ที่สูงที่สุดในอุตสาหกรรมเสริมความงามถึง 42% ตามมาด้วยเครื่องแต่งหน้า (Make-up) 15% ในปี พ.ศ. 2562 อุตสาหกรรมเสริมความงามในประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.18 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย +6.7%

สรุปได้ว่า ภัยคุกคามจากบริการและสินค้าทดแทน มีผลกระทบในเชิงลบต่อคลินิกเสิรมความงาม เนื่องจากลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลด้านความงาม หรือใช้สินค้าทางเลือก (Alternative) เพื่อลดค่าใช้จ่ายได้ รวมถึงความสามารถในกาทำกำไรสูงของสินค้าทดแทน

แหล่งข้อมูล

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Porter [2023, April 28].
  2. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4256/1/TP%20050%202564.pdf [2023, April 28].