
11. ตลาดคลินิกฟอกไต – ตอนที่ 53
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 19 มีนาคม 2568
- Tweet
Kotler and Keller อธิบายกระบวนการตัดสินใจ (Decision-making process) ซื้อของผู้บริโภคไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
- การรับรู้ปัญหา (Problem recognition) เป็นลำดับแรกในกระบวนการการตัดสินใจซื้อ โดยผู้บริโภครับรู้ปัญหา หรือถูกกระตุ้น (Stimulate) ให้เกิดความต้องการไม่ว่าจะเป็นสิ่งกระตุ้นภายใน (Internal) เกิดความต้องการสินค้า เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ
- การค้นหาข้อมูล (Information search) เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการแล้ว จะมีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ (Feature) ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการและสถานที่จัดจำหน่าย โดยแหล่ง (Source) ข้อมูล ที่ผู้บริโภคมักใช้คือ ข้อมูลจากบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมาก
- การประเมินทางเลือก (Evaluation of alternative) ผู้บริโภคกำหนดความต้องการของตัวเองขึ้นมาเพื่อพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ นำข้อมูลที่ได้รับมาเปรียบเทียบ (Comparative) ข้อดี (Advantage) และ ข้อเสีย (Disadvantage) ของแต่ละผลิตภัณฑ์
- การตัดสินใจซื้อ (Purchase decision) เมื่อผ่านขั้นตอน (Procedure) ของการประเมินทางเลือก (Alternatives) ต่างๆแล้ว ผู้บริโภคจะได้สินค้าตราสินค้า (Brand) ที่ตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุดที่ตั้งใจ (Intent) จะซื้อ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาอาจมีปัจจัย (Factor) อื่นมากระทบ (Affect) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจซื้อ เช่น ทัศนคติ (Attitude) ของคนรอบข้าง
- พฤติกรรมหลังการซื้อ (Post-purchase behavior) เมื่อผู้บริโภคได้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการไปแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบ (Evaluate) ถึงความพึงพอใจ (Satisfaction) หลังการซื้อ ซึ่งทางผู้บริโภคจะเปรียบเทียบคุณค่า (Value) ที่ได้รับจาก สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (Actual) กับสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวัง (Expect) ถ้าคุณค่าที่ผู้บริโภคได้รับสูงกว่าที่ได้คาดหวังไว้ ผู้บริโภคก็จะเกิดความพึงพอใจ ซึ่งนำไปสู่การซื้อซ้ำ (Repeat) ตลอดจนการบอกต่อ [ไปยังผู้อื่นๆ รอบข้าง] (Words of mouth)
นักวิจัย ได้ศึกษาเรื่องคุณภาพการให้บริการ (Service quality) และความพึงพอใจมีความสัมพันธ์ (Relationship) กับการกลับมาใช้ซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า
- คุณภาพการให้บริการด้านการสร้างความเชื่อมั่น (Confidence) ให้แก่ผู้รับบริการมีความสัมพันธ์มากที่สุดกับการ กลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ รองลงมาคือคุณภาพการให้บริการด้านความเป็นรูปธรรม (Touchable) ของการให้บริการมีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ ซึ่งผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่ามี ความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากทุกด้าน
- ความพึงพอใจด้านการเข้าถึง (Access) แหล่งบริการมีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการของผู้รับบริการมากที่สุด
รองลงมาคือความพึงพอใจด้านความสะดวก (Convenience) และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) ของแหล่งบริการมีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความพึงพอใจทุกด้าน (Aspect) มีระดับความสัมพันธ์ (Relationship) กับการกลับมาใช้บริการซ้ำอยู่ในระดับมาก
แหล่งข้อมูล –