11. ตลาดคลินิกฟอกไต – ตอนที่ 37

ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ จั่วหัวข้อข่าว เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 ว่า

JSP เดินหน้าบุกตลาดกลุ่มผู้สูงวัย ตั้งเป้าปี 2567 ทำรายได้ 800 ล้านบาท และผลักดัน "เกรซ วอเทอร์ เมด" ผู้ผลิตน้ำยาฟอกไต ตอบโจทย์การฟอกไตใกล้ชุมชน พร้อมขยายโมเดล “ตู้ยาเวนดิ้ง” 1,000 ตู้

ประธานเจ้าหน้าที่สายงานขายและการตลาด (Chief Sales and Marketing) บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JSP กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร (Population) อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า +13 ล้านคน คิดเป็น 19% ของประชากรทั้งหมด

สถิติดังกล่าวถือว่าได้ก้าวเข้าสู่ "สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์" (Completely-aged society) โดยคาดการณ์ว่า (Forecast) ภายในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า +20% ของประชากรทั้งหมด กลายเป็น "สังคมสูงอายุระดับสุดยอด"(Super-aged society) และยังพบแนวโน้มคนไทยอายุยืนมากขึ้น

ดังนั้น JSP จึงเข้ามาจับตลาดกลุ่มนี้อย่างเต็มรูปแบบ (Full potential) โดยในปี พ.ศ. 2567 ได้ปรับกลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy) ใหม่ด้วยการเพิ่มงบ (Budget) การตลาด +20% จากปี ค.ศ. 2566 รวมเป็น 50 ล้านบาท โดยมุ่งเน้น (Focus) ไปยังตลาดกลุ่มผู้สูงวัย (Elderly market) เป็นหลักซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 80%

ถัดมาคือกลุ่มวัยทำงาน (Workforce) ซึ่งในครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 2567 ได้ใช้งบการตลาดไปแล้ว 10 ล้านบาท และได้รับการตอบรับ (Response) จากกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัยเกินกว่า (Exceed) ที่คาดไว้ (Expectation) ส่งผลให้ 5 เดือนแรก บริษัทมียอดขาย (Sales revenue) ประมาณ 300 ล้านบาท

จากแนวโน้ม (Trend) ที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Continuous growth) ทำให้บริษัทปรับ (Adjust) เป้าหมาย (Target) ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 800 ล้านบาท ทั้งนี้ JSP จะไม่เน้นการตลาดแบบขายสินค้า (Goods) เพียงอย่างเดียว แต่จะขยายไปสู่ภาคบริการ (Service) ด้วยการยกระดับ (Raise) บริการของธุรกิจในเครือที่มีอยู่ (Existing) ให้กลายเป็นตัวทำรายได้ที่สำคัญของบริษัท

โดยควบคู่ไปกับการเริ่มจากเน้น (Emphasize) การนำสินค้าเข้ามาขายผ่านบริษัท เกรซ วอเทอร์ เมด จำกัด (GWM) บริษัทลูกของ JSP ที่ดำเนินธุรกิจโรงงานผลิตน้ำยาล้างไต (Hemolysis solution) โดยเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำยาสำหรับผู้ป่วยฟอกไต, เครื่องฟอกไตเทียม, เข็มต่อสายฟอกเลือด, และอุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเลือด

“คนไทยป่วยเป็นโรคไต (Kidney disease) หรือไตเสื่อมเรื้อรัง (Chronic) ประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ 2.2 แสนคน อยู่ในระยะสุดท้าย (Terminal stage) เข้ารับการฟอกไต 7 หมื่นคน ถึง 1 แสนคน โดยศูนย์ฟอกไต (Dialysis center) ในประเทศไทยมีอยู่เพียง 1,200 แห่ง ในขณะที่ความต้องการ (Demand) มีมากกว่า 2,000 แห่ง . . .

. . . นอกจากนี้บุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff) ก็ยังไม่เพียงพอ (Inadequate) และมีความต้องการอีกเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตมีความยากลำบาก (Suffering) ในการเลือกบริโภคอาหาร (Food consumption) และการบริโภคอาหารได้ไม่กี่ประเภท . . .

. . . ทำให้เกิดความจำเจ ซึ่งงานวิจัย (Research) จากต่างประเทศพบว่าการบริโภคอาหารมีผลต่อจิตใจ (Mental impact) ของผู้ป่วย ฉะนั้น JSP ก็มีแผนที่จะผลิตอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ที่มีรสชาติถูกปากคนไทย (Local taste) เพื่อมาช่วยกระตุ้น (Stimulate) ให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิต (Quality of life) ที่ดีขึ้น”

แหล่งข้อมูล

  1. https://thunhoon.com/article/264052 [2024, August 6].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Hemodialysis [2024, August 6].