9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 47
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 ธันวาคม 2567
- Tweet
8. การจัดการความเสี่ยง
- ความเสี่ยงในการยอมรับเทคโนโลยี – การขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีในผู้สูงอายุ (Elderly) และประชากรชนบท (Rural population) อาจทำให้เกิดการบกวน (Disrupt) ในการใช้งาน บรรเทาความเสี่ยง (Risk alleviation) นี้โดยการจัดรณรงค์ (Campaign) การรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล ในด้านเทคนิคระบบอินเทอร์เน็ตอาจล่ม (Outage) ซึ่งแก้ไขได้โดยมีระบบสำรอง (Back-up) หรือกลับไปใช้การให้คำปรึกษาออฟไลน์แบบเดิม
- ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ – การเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือกฎระเบียบ (Regulation) ที่ไม่คาดคิด อาจส่งผลกระทบ (Impact) ต่อการดำเนินงาน การสื่อสาร (Dialog) กับหน่วยงานกำกับ (Regulatory authority) ดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้
- ความเสี่ยงในการนำไปใช้ – แรงต้าน (Resistance) จากนักวิชาชีพดูแลสุขภภาพ (Healthcare professional) หรือ ผู้ป่วย เนื่องจากปราศจากความคุ้นเคย (Familiarity) กับเทคโนโลยี มาตรการลดความเสี่ยง (Mitigation) นี้ ได้แก่การฝึกอบรมอย่างเข้มข้น (Comprehensive)
- ความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล – ความปลอดภัย (Security) และความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของข้อมูลผู้ป่วยถือเป็นปัจจัยสำคัญ (Essential) การลงทุนในเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ (Cyber security) และปฏิบัติตามมาตรฐาน PDPA (Personal Data Protection Act = พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) จะช่วยลดความเสี่ยงนี้
ข้อสรุป
การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในประเทศไทยมีศักยภาพในการแปลงโฉม (Transform) การให้บริการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ (Significance) ในมิติของการถึงได้ง่าย (Accessible), มีประสิทธิภาพ (Efficient), และผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centered) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท (Rural) และสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ
ด้วยแผนยุทธศาสตร์ (Strategic plan) ที่เป็นแผนที่ถนน (Roadmap) โดยมีวิสัยทัศน์ (Vision), การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure), การฝึกอบรมนักวิชาชีพดูแลสุขภาพ, และการมีส่วนร่วม (Stakeholder) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) การแพทย์ทางไกลจะสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง (Partly) ของการให้บริการสุขภาพ (Health service) ที่ยั่งยืน (Sustainable) ในอนาคตของประเทศไทย
การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน (Distinct), การลงทุนที่คุ้มค่า (Worthy investment)ม และการติดตามผล (Monitor) อย่างต่อเนื่อง (Continuously) จะทำให้การแพทย์ทางไกล กลายเป็นเครื่องมือ (Instrument) สำคัญในการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพ (Healthcare system) ของประเทศ ซึ่งจะกลายเป็นผู้นำนวัตกรรม (Innovation) ในเอเชียอาคเนย์
แหล่งข้อมูล –
- https://chatgpt.com/c/66f6b071-004c-800f-abe7-9fc1963f4c3e [2024, December 22].
- https://en.wikiversity.org/wiki/Telemedicine [2024, December 22].