9. ตลาดการแพทย์ทางไกล – ตอนที่ 44
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 11 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
- แพลตฟอร์มเทคโนโลยี – พัฒนา Platform (= เวทีพื้นฐาน) การแพทย์ทางไกลที่มีความมั่นคง (Secure) และขยายตัว (Scalable) ได้ พร้อมคุณลักษณะ (Feature) ต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางวิดีทัศน์ (Video consultation), การวินิจฉัยทางไกล (Remote diagnosis), และบันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic health record: EHR)
- เป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี – ร่วมมือ (Collaborate) กับบริษัทเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัย, และกิจการเกิดใหม่ (Start-up) เพื่อใช้ประโยชน์ (Leverage) จากนวัตกรรมในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) และ อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of things: IoT)
4.2 การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญดูแลสุขภาพ
- โปรแกรมการรับรองการแพทย์ทางไกล – ร่วมมือกับสถาบัน (Institution) ทางการแพทย์เพื่อฝึกอบรมผู้ให้บริการ (Provider) ดูแลสุขภาพในการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการสื่อสาร (Communication) กับผู้ป่วย
- การฝึกอบรมเฉพาะทางสำหรับการจัดการโรคเรื้อรัง: จัดเตรียมเครื่องมือ (Tool) และแนวทางปฏิบัติ (Protocol) ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญดูแลสุขภาพ (Healthcare professional) ในการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic) เช่น เบาหวาน (Diabetes) และความดันโลหิตสูง ผ่าน Platform (= เวทีพื้นฐาน) การแพทย์ทางไกล
- การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง – เสนอการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง (Ongoing) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลสุขภาพปรับให้ทันกาล (Update) ซึ่งแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) และเทคโนโลยีที่วิวัฒนา (Evolve) อย่างต่อเนื่องในด้านการแพทย์ทางไกล
4.3 การมีส่วนร่วมและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
- รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชน – เปิดการตัวรณรงค์ (Campaign) สร้างความตระหนัก (Awareness) ในระดับประเทศเพื่อให้ความรู้ (Educate) แก่ประชาชนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) อย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้น (Focus) ที่ชุมชนชนบท (Rural), ผู้สูงอายุ (Elderly), และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (Chronic)
- สัมมนาความรู้ด้านสุขภาพ – จัดสัมมนาโดยร่วมมือ (Collaborate) กับโรงพยาบาลท้องถิ่นและศูนย์ชุมชน (Community) เพื่อสอนแนะ (Navigate) ประชาชนถึงวิธีการใช้ Platform (= เวทีพื้นฐาน) การแพทย์ทางไกล การทำความเข้าใจการให้คำปรึกษาออนไลน์ และการจัดการโรคเรื้อรังผ่านการติดตามผลทางไกล (Remote monitoring)
4.4 ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- เป็นพันธมิตรกับรัฐบาล – ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข (Ministry of Public Health) และหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้อง (Align) กับความคิดริเริ่ม (Initiative) ของการแพทย์ทางไกลกับเป้าหมาย (Goal) ดูแลสุขภาพของประเทศ
- ความร่วมมือกับภาคเอกชน – ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเอกชน, บริษัทประกัน และบริษัทเทคโนโลยี เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืนและขยายบริการแพทย์ทางไกล
- ความร่วมมือระหว่างประเทศด– มีส่วนร่วม (Engage) กับองค์กรด้านสุขภาพระหว่างประเทศและผู้นำด้านการแพทย์ทางไกลเพื่อดึงความเชี่ยวชาญมาใช้ แบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และทำให้มั่นใจว่าการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
แหล่งข้อมูล –
- https://chatgpt.com/c/66f6b071-004c-800f-abe7-9fc1963f4c3e [2024, November 10].
- https://en.wikiversity.org/wiki/Telemedicine [2024, November 10].