ซีลีเนียม (Selenium)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 18 กันยายน 2558
- Tweet
- อาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ (Healthy diet)
- วิตามินรวม มัลติวิตามิน เอ็มทีวี (Multivitamin: MTV)
- วิตามิน (Vitamin)
- เลือกอาหารเสริมอย่างไร? (How to choose dietary supplements?)
ซีลีเนียม หรือเซลีเนียม หรือ เซเลเนียม (Selenium มีสัญลักษณ์ว่า Se จัดอยู่ในกลุ่มแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นโลหะหนัก) เป็นแร่ธาตุ/เกลือแร่จำเป็นต่อร่างกายในการช่วยการทำงานของเซลล์และของเนื้อเยื่อในทุกระบบต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด ต่อเซลล์สมองในส่วนความจำและความเข้าใจ ในการทำงานของต่อมไทรอยด์ และในการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็ง แต่ทั้งนี้ซีลีเนียมไม่มีผลต่อภาวะความเป็นกรด-ด่างของเลือด (Blood electrolyte) จึงไม่เกี่ยวข้องกับการคงสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย/ในเลือด
ถ้าร่างกายขาดซีลีเนียมจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ สมอง ต่อมไทรอยด์ และที่กำลังอยู่ในการศึกษาคือ โอกาสการกลายพันธุ์ของเซลล์ไปเป็นเซลล์มะเร็ง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ซีลีเนียมจะเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น แต่ร่างกายก็ต้องการในแต่ละวันในปริมาณน้อยมาก องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) แนะนำปริมาณซีลีเนียมที่ควรได้รับในแต่ละวันตามเพศและกลุ่มอายุดังนี้
ซีลีเนียมมีอยู่ในอาหารมีประโยชน์ทุกชนิด ดังนั้นถ้าบริโภคอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ได้ครบถ้วนในทุกวันร่างกายจะได้รับซีรีเนียมพอเพียงเสมอ ซึ่งอาหารที่มีซีรีเนียมสูงเช่น เนื้อแดง อาหารทะเล ไข่ ไตสัตว์ ปลา ปลาทูนา เห็ด ลูกนัท นม อาหารเช้าซีเรียล/Cereal ที่ผสมซีลีเนียม
ถ้าร่างกายได้รับซีลีเนียมสูงเกินไปจากการเสริมอาหารด้วยวิตามิน เกลือแร่ ที่มีซีลีเนียมสูง ผลข้างเคียงที่พบได้เช่น เล็บเปราะ/ฉีก/แตกง่าย ผมร่วง ลมหายใจมีกลื่นกระเทียม อ่อนล้า กระสับกระส่าย และในระยะยาวอาจเกิดตับแข็ง
แพทย์วินิจฉัยได้ว่าร่างกายได้รับพิษจากซีลีเนียมจากอาการผู้ป่วย ประวัติการบริโรคอาหาร ยาต่างๆ วิตามิน เกลือแร่ อาหารเสริม สมุนไพร ยาแผนโบราณ ร่วมกับการตรวจร่างกาย และอาจยืนยันการวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดที่จะพบปริมาณซีลีเนียมอยู่ในช่วง 400 - 30,000 μg/L (Microgram/litre)
บรรณานุกรม
- http://ods.od.nih.gov/factsheets/Selenium-HealthProfessional/ [2015,Aug29]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Selenium [2015,Aug29]
- http://www.annclinlabsci.org/content/36/4/409.full [2015,Aug29]