ซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) เป็นสมาชิกตัวหนึ่งของกลุ่มยาซัลฟา (Sulfa group) จัดเป็นสารอนุพันธุ์ของยา Mesalazine (ยารักษาลำไส้อักเสบเรื้อรัง)

ในทางคลินิก ใช้ยานี้เพื่อรักษาอาการโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง และ Crohn’s disease นอกจากนี้ซัลฟาซาลาซีนยังถูกนำไปใช้รักษาโรคข้อรูมาตอยด์อีกด้วย และยาแผนปัจจุบันของยาซัลฟาซาลาซีนที่วางจำหน่ายเป็นยาชนิดรับประทาน

โดยธรรมชาติ ยานี้มีการดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า 15% ร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 5 - 10 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยา 50% ออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ

องค์การอนามัยโลกได้ระบุให้ยาซัลฟาซาลาซีนเป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับระดับชุม ชน สมควรที่สถานพยาบาลควรจะมีประจำและสำรองเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย และคณะกรรมการอา หารและยาของไทยได้บรรจุให้ยานี้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาโรคข้อรูมาตอยด์และภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ยาซัลฟาซาลาซีนจัดอยู่ในหมวดของยาอันตราย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การใช้ยานี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น และห้ามมิให้ผู้ป่วยปรับขนาดการรับประ ทานยาเองโดยเด็ดขาด

ซัลฟาซาลาซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ซัลฟาซาลาซีน

ยาซัลฟาซาลาซีนมีสรรพคุณดังนี้เช่น

  • รักษาโรคข้อรูมาตอยด์
  • รักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ซัลฟาซาลาซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาซัลฟาซาลาซีนมีกลไกการออกฤทธิ์โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในลำไส้ โดยยับยั้งและรบกวนการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin/สารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ) และอีกหนึ่งกลไกหลังจากยาซัลฟาซาลาซีนถูกร่างกายเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสาร Sulfapyri dine ที่จะออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของข้อต่างๆตามร่างกาย ซึ่งกลไกต่างๆเหล่านี้ทำให้ยาซัล ฟาซาลาซีนเกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ

ซัลฟาซาลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาซัลฟาซาลาซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็นยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 500 มิลลิกรัม/เม็ด

ซัลฟาซาลาซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาซัลฟาซาลาซีนมีขนาดรับประทานดังนี้เช่น

ก. สำหรับรักษาโรคข้อรูมาตอยด์:

  • ผู้ใหญ่: เริ่มต้นรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และทุกๆ สัปดาห์แพทย์อาจปรับเพิ่มขนาดรับประทานอีก 500 มิลลิกรัม/วัน โดยขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 3,000 มิลลิ กรัม/วัน
  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป: รับประทาน 30 - 50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วันโดย แบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี: ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดในการใช้ยานี้ในเด็กกลุ่มอายุนี้ การใช้ยานี้ในเด็กกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

ข. สำหรับรักษาอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง:

  • ผู้ใหญ่: รับประทานเริ่มต้น 1,000 - 2,000 มิลลิกรัม/วันโดยแบ่งรับประทานเป็น 4 ครั้งจน กระทั่งอาการดีขึ้น
  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป: รับประทาน 40 - 60 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วันโดยแบ่งรับประทานตามแพทย์แนะนำ
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี: ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดในการใช้ยานี้ในเด็กกลุ่มอายุนี้ การใช้ยานี้ในเด็กกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

*อนึ่ง ควรรับประทานยานี้พร้อมอาหาร ห้ามเคี้ยวยา และควรดื่มน้ำเป็นปริมาณที่เพียงพอหลังรับประทานยานี้

*****หมายเหตุ:

  • ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาซัลฟาซาลาซีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาซัลฟาซาลาซีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาซัลฟาซาลาซีนสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ซัลฟาซาลาซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาซัลฟาซาลาซีนสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย รู้สึกไม่สบายในช่องท้อง แพ้แสงแดดง่าย อาจทำให้เกิดอาการแพ้ยา

สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาดสามารถพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ง่วงนอน เป็นลมชัก การบำบัดโดยแพทย์อาจใช้วิธีล้างท้องเพื่อช่วยบรรเทาอาการในเบื้องต้น จากนั้นให้การรักษาตามอาการ โดยใช้สัญญาณชีพต่างๆหรือผลการตรวจของห้องทดลอง/การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการมาช่วยประกอบการรักษา

มีข้อควรระวังการใช้ซัลฟาซาลาซีนอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาซัลฟาซาลาซีนดังนี้เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้ แพ้ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์/ยากลุ่มซัลฟา หรือแพ้ยาซาลิไซเลต
  • ห้ามใช้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะลำไส้อุดตัน ผู้ที่มีภาวะระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน และผู้ป่วย Porphyria (โรคทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากที่มีความผิดปกติของสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง)
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ป่วยภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี/G6PD ผู้ป่วยโรคหืด
  • ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

**** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาซัลฟาซาลาซีนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ซัลฟาซาลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาซัลฟาซาลาซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น

  • การใช้ยาซัลฟาซาลาซีนร่วมกับกรดโฟลิกจะเกิดการรบกวนการดูดซึมของกรดโฟลิก และทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาของกรดโฟลิกลดลงไปด้วย หากจำเป็นต้องให้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาซัลฟาซาลาซีนร่วมกับยา Digoxin ด้วยจะทำให้การดูดซึมของยา Digoxin ลดน้อยลงไปจนส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษา
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาโคลไฟเบรตร่วมกับยา Zidovudine ด้วยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหรือที่เรียกว่ากล้ามเนื้อลายสลาย รวมถึงมีภาวะไตเสียหายติดตามมา
  • การใช้ยาซัลฟาซาลาซีนร่วมกับยา Tenofovir จะก่อให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติ เมื่อต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป

ควรเก็บรักษาซัลฟาซาลาซีนอย่างไร?

ควรเก็บยาซัลฟาซาลาซีนภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ไม่เก็บยาในช่อง แช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ ควรเก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง แดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ซัลฟาซาลาซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาซัลฟาซาลาซีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Salazine (ซาลาซีน) Sriprasit Pharma
Salazopyrin EN (ซาลาโซไพริน) Pfizer
Saridine-E (ซาริดีน-อี) Atlantic Lab

บรรณานุกรม

1 http://en.wikipedia.org/wiki/Sulfasalazine [2015,June 6]
2 http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/search?keyword=Sulfasalazine [2015,June 6]
3 http://www.mims.com/USA/drug/info/sulfasalazine/?type=full&mtype=generic#Dosage [2015,June 6]
4 http://www.drugs.com/drug-interactions/sulfasalazine-index.html?filter=3&generic_only= [2015,June 6]
5 http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=sulfasalazine [2015,June 6]