ชีวิตหลังการติดเชื้อในกระแสเลือด (ตอนที่ 3)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 14 กรกฎาคม 2563
- Tweet
ภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด (ต่อ)
- ผิวซีด
- ท้องบวม
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ชัก
- สะดุ้งผวา (Jitteriness)
ทั้งนี้ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมักเกิดและรุนแรงในบุคคลต่อไปนี้
- ผู้สูงอายุ
- หญิงตั้งครรภ์
- เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
- ผู้ที่ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคปอด หรือ โรคมะเร็ง
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
และมักเกิดในผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหรือผู้ที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลไม่นาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในห้องไอซียูที่ร่างกายอ่อนแอและง่ายต่อการติดเชื้อ
การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแต่เนิ่น ๆ มักทำด้วยการให้ยาปฏิชีวนะปริมาณมากทางหลอดเลือด ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิตได้
สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือไม่ดูได้จาก
- มีการเปลี่ยนแปลงสภาพจิต (Mental status)
- ค่าความดันตัวบนที่เรียกว่า Systolic pressure ≤ 100 มิลลิเมตร
- อัตราการหายใจ ≥ 22 ครั้งต่อนาที
ส่วนการวินิจฉัยว่ามีภาวะช็อคจากการติดเชื้อดูได้จาก
- ต้องมีการให้ยาเพื่อคงระดับความโลหิตให้ ≥ 65 มิลลิเมตร
- มีระดับแลคเตทในเลือด (Serum lactate) สูง ซึ่งการมีกรดแลคติก (Lactic acid) ในเลือดมากเกินไปจะทำให้เซลล์มีการใช้ออกซิเจนไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ อาจใช้วิธีการตรวจเลือด ปัสสาวะ สารคัดหลั่งของแผล สารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ การเอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ ซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ ช่วยในการวินิจฉัยด้วย
แหล่งข้อมูล:
- Sepsis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sepsis/symptoms-causes/syc-20351214 [2020, Jul 13].
- Sepsis. https://www.healthline.com/health/sepsis [2020, Jul 13].