จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 385: - งานวิจัยของอัลเฟรด บีเนต์ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 385: - งานวิจัยของอัลเฟรด บีเนต์ (1)

ช่วงปลายปีคริสต์ทศวรรษ 1800s นักจิตวิทยามากความสามารถชาวฝรั่งเศสนามว่าอัลเฟรด บีเนต์ (Alfred Binet) เข้าใจถึงความล้มเหลวของโบรกา (Broca) และกัลตัน (Galton) ในเรื่องที่พวกเขาทั้งคู่พยายามที่จะวัดค่าความอัจฉริยะโดยใช้ขนาดของสมองเป็นตัวชี้วัด

บีเนต์เชื่อว่า ความอัจฉริยะคือการสะสมความสามารถทางจิต และสิ่งนี้จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเข้าถึงการวัดค่าความฉลาดของคนเรา โดยเพ่งเล็งถึงความสามารถทางสติปัญญาที่บุคคลนั้นๆ แสดงออกมา ตัวอย่างเช่น การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ หรือความสามารถที่จะทำตามคำสั่ง

บีเนต์มีมุมมองที่ไม่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาแบบทดสอบค่าความอัจฉริยะก่อนหน้านี้ ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเพื่อออกคำสั่งในการพัฒนาแบบทดสอบทาง IQ (= Intelligence quotient) ให้เหมาะสมกับเด็กอีกหลายคน ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

บีเนต์ตอบรับข้อตกลงข้างต้นโดยที่มีจุดมุ่งหมาย 2 ข้อ ในสมองของเขา กล่าวคือ (1) แบบทดสอบต้องมีความง่ายในการทำ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษจากในห้องทดลอง และ (2) แบบทดสอบต้องมีความชัดเจนในการแยกแยะระหว่างผู้ที่มีความสามารถทางจิตที่ปกติและไม่ปกติ

บีเนต์และนักจิตวิทยานามว่า ทีโอดอร์ ไซมอน (Theodore Simon) ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแบบทดสอบ เพื่อใช้วัดค่ามาตรฐานความฉลาดเป็นชุดแรกของโลก

แบบทดสอบทางสติปัญญาของบีเนต์-ไซมอน (The Binet-Simon Intelligence Scale) ได้บรรจุสิ่งที่เรียงเป็นลำดับของความยากที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งพวกนี้วัดค่าความจำด้านคำศัพท์, ความรู้ทั่วไป, และความสามารถทางสติปัญญาด้านอื่น

เป้าหมายของแบบทดสอบชุดแรก มีไว้เพื่อแยกแยะเด็กที่มีจิตบกพร่องในโรงเรียนที่ปารีส ในยุคนั้นเด็กที่ปัญญาอ่อนถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ (1) เด็กปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง (2) เด็กปัญญาอ่อนระดับกลาง (Imbeciles) และ (3) เด็กปัญญาอ่อนน้อยที่สุด (Morons mildest) ซึ่งไม่ได้มีการใช้คำเหล่านี้ในปัจจุบัน เพราะเป็นคำศัพท์ที่มีความหมายในด้านลบ

ปัญหาของแบบทดสอบฉบับแรก (ซึ่งแบ่งเด็กไว้เพียง 3 แบบข้างต้น) ไม่มีแนวทางที่จะแสดงผลลัพธ์ให้เห็นผ่านคะแนน แต่อีกหลายปีต่อมา บีเนต์ก็ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้เมื่อเขานำเสนอแนวคิดของระดับจิตใจ (Mental level)

บีเนต์และไซมอน ได้แก้ปัญหาแบบทดสอบชุดแรกของตนเอง โดยเรียงลำดับข้อสอบอิงจากระดับความยากของแบบทดสอบ และสร้างสิ่งอื่นขึ้นมา เพื่อวัดค่าความสามารถทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน

ในแต่ละสิ่งที่อยู่ในข้อสอบ บีเนต์ได้กำหนดเกณฑ์อายุของเด็กให้สอดคล้องกับคำถาม ตัวอย่างเช่น เด็กในวัย 3 ขวบต้องสามารถแยกแยะอวัยวะแต่ละส่วนที่อยู่บนใบหน้าได้ และเด็กในช่วงอายุ 9 ขวบ ต้องสามารถจำแนกวันในสัปดาห์ได้เพราะว่าข้อสอบได้ถูกสร้างให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย (3 - 13 ปี)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Alfred Binet - https://en.wikipedia.org/wiki/Alfred_Binet [2022, September 21].
  3. Francis Galton - https://en.wikipedia.org/wiki/Francis_Galton [2022, September 21].
  4. Broca’s area - https://en.wikipedia.org/wiki/Broca%27s_area [2022, September 21].
  5. Theodore Simon - https://en.wikipedia.org/wiki/Th%C3%A9odore_Simon [2022, September 21].