จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 346: เด็กถูกป้อนความทรงจำบิดเบือน (2)

 

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 346: เด็กถูกป้อนความทรงจำบิดเบือน (2)

สัปดาห์ที่ผ่านมาเรามีการพูดคุยถึงบทความจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับครูโรงเรียนเตรียมอนุบาล ที่ถูกกล่าวหาว่ามีการทารุณกรรมเด็ก ในสัปดาห์นี้เราจะวิเคราะห์เกี่ยวกับข่าวดังกล่าว ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นเมื่อมีการถามเด็กเกี่ยวกับเรื่องถูกละเมิดทางเพศ (Sextually abused) ก็คือเด็กที่มีอายุน้อยมาก ไม่เข้าใจว่าการถูกล่วงละเมิดทางเพศคืออะไร

นอกจากนั้นเด็กกลุ่มนี้ไม่ต้องการที่จะพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ดังกล่าวที่เคยเกิดขึ้น แต่พวกเขาอาจจะมองหาผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้เพราะต้องการปรึกษา และหาทางออก

ข้อผิดปกติ (Unusual) ที่สังเกตได้จากข้อกล่าวหาของแม่เด็กและความจริงจังของเธอที่มีต่อเรย์ บัคคีย์ (Ray Buckey) ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเกินจริงที่จะเกิดขึ้นได้ในโรงเรียนเตรียมอนุบาล ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ และอีกหนึ่งเหตุผลที่ข้อกล่าวหาของแม่เด็กคนนี้มีความจริงจัง เพราะเธอเชื่อมโยงกับสิ่งที่ลูกของเธอเล่าให้เธอฟังและลูกของเธอไม่มีเหตุผลที่ต้องโกหก

ก่อนหน้านี้ เราได้เห็นตัวอย่างของการเก็บกด (Repressed) และการฟื้นฟูความทรงจำ (Memories) ในเด็ก เพราะเป็นหัวข้อที่มีการโต้เถียงกันมาก เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความแม่นยำ (Accuracy) ของความทรงจำที่เก็บกดและฟื้นฟูในผู้ใหญ่

ยังมีข้อโต้เถียงอีกมากมายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ (phenomena) นี้ โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุที่น้อยมาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิธีการที่นักสังคมสงเคราะห์ใช้สำหรับการสัมภาษณ์เด็กอายุน้อย ก็คือการที่พวกเขาแนะนำว่าเด็กนั้น “ฉลาด” หากเห็นด้วยว่า การทารุณกรรมเกิดขึ้น

นอกจากนี้ นักสังคมสงเคราะห์ใช้คำว่า “โง่” หากเด็กไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการทารุณกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่านักสัมภาษณ์ได้กดดันเด็กนักเรียนเพื่อให้ตอบคำตอบที่พวกเขากำลังตามหาและไม่ได้ใช้ความพายายามในการค้นหาว่าคืออะไร หรือทำไมเหตุการณ์ดังกล่าวถึงเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนกลุ่มนี้

ตอนก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้ถึงหลักฐานที่บ่งชี้ว่า มนุษย์สามารถแนะนำและปลูกฝังความทรงจำที่บิดเบือนในเด็กได้ โดยมีงานวิจัยที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าความทรงจำที่บิดเบือนสามารถปลูกฝังได้และต่อมาทำให้กลายเป็นความจริงได้ในความเข้าใจของเด็ก

แม้ว่าจะมีการบอกความจริงกับผู้ที่ถูกปลูกฝังความทรงจำที่บิดเบือนว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องเท็จ แต่ก็ยังมีเด็กบางคนยังคงเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเรื่อง “จริง” และเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง

หลังจากที่ศาลตัดสินว่าพวกครูไม่มีความผิด แต่แม่ของเด็กยังรู้สึกว่าลูกเขาถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพราะแม่ของเด็กคนนี้ได้ถามและให้คำแนะนำซ้ำไปซ้ำมากับลูกของเธอจนเด็กถูกปลูกฝังความทรงจำที่บิดเบือน

เมื่อความทรงจำที่บิดเบือนถูกปลูกฝังไว้ อาจกลายเป็นความจริงพร้อมด้วยรายละเอียดของภาพที่เห็น ผลลัพธ์ก็คืออาจทำให้เด็กเชื่อว่าเหตุการณ์จากความทรงจำที่บิดเบือนเกิดขึ้นจริงและทำให้แม่ของเธอไม่มีข้อสงสัยในตัวลูกเธอ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik (2002). Introduction to Psychology (6th Ed).  Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. False memory syndrome - https://en.wikipedia.org/wiki/False_memory_syndrome [2021, November 27].