จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 342: ความทรงจำรูปภาพ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 31 ตุลาคม 2564
- Tweet
สัปดาห์ที่ผ่านมาเรากล่าวถึงความสามารถในการจินตนาการภาพถ่าย (Eidetic imagery) ที่เกิดขึ้นเพียงกับเด็กบางคน
ยกตัวอย่างเช่น มีการให้เด็กหญิงวัย 11 ปีดูภาพจาก “หนังสือป่า” ของ รูดี้อาร์ต คิพลิงค์ (Rudyard Kipling’s “The Jungle Book”) เพียงเวลาไม่กี่นาที
เธอต้องเก็บรายละเอียดโดยจินตนาการ (Mind’s eye) เกี่ยวกับรูปภาพนี้ลงในจิตใจเป็นช่วงเวลาหลายนาที ซึ่งต่อมาได้มีการให้เธอหลับตาและอธิบายเกี่ยวกับรูปภาพที่เธอเห็น
หลังจากได้มีการเอารูปภาพดังกล่าวออกไป เด็กหญิงวัย 11 ปีคนนี้ ได้ปิดตาและอธิบายรายละเอียดโดยที่เธอไม่ลังเลเลย ซึ่งเธอสามารถอธิบายรูปภาพได้อย่างมีรายละเอียดตามข้อมูลด้านล่างนี้
เด็กผู้หญิงคนนี้กล่าวว่า รูปภาพมีพื้นสีเขียวและน้ำตาลเข้ม, มีแม่ กับเสือดาวตัวน้อย, และมีคนพื้นเมืองกำลังนั่งพิงมันอยู่ ต่อมา มีสระน้ำที่มีปลาอยู่ด้านในและมีปูกำลังออกมา
เด็กผู้หญิงคนนี้คิดว่ามีเต่าเดินด้านหน้าและมีเม่น (Porcupine) อยู่ด้านขวาล่าง มีต้นไม้ที่แยกวัวออกมาให้เห็นเพียงครึ่งส่วน ส่วนวัวนั้น มีสีน้ำตาลและขาว
เด็กผู้หญิงพูดต่อว่ามีบางอย่างข้างบนต้นไม้และเธอไม่เห็นด้านล่างขวาของรูป เธอพูดต่อว่ามีดวงอาทิตย์ที่กำลังเปล่งแสงมากใกล้บนมุมขวา (เธอกล่าวว่าดวงอาทิตย์เปล่งแสงเป็น 8 แฉก) เธอพูดต่อว่า เม่นมีขนแปรงที่หนา
เด็กผู้หญิงกล่าวต่อว่าด้านขวานั้นหายไป เธอเห็นแค่วัวที่โดนแยกเป็นครึ่งส่วนโดยต้นไม้ ต่อมาเธอนึกออกว่ามี จระเข้อยู่ที่มุมขวาซึ่งภาพมันจางและหายไป
สิ่งที่ไม่ปกติเกี่ยวกับคำอธิบายของเด็กผู้หญิงคนนี้ ไม่ใช่แค่เพียงจำนวนรายละเอียด แต่เป็นข้อเท็จจริงที่เธอเหมือนกำลังตรวจสอบภาพที่เธอเห็นให้ชัดจากภาพวาดจริง ซึ่งดูเหมือนว่ามันถูกจัดเก็บในจินตนาการของเธอ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง
คำอธิบายเกี่ยวกับรูปภาพของเด็กผู้หญิงคนนี้ คือตัวอย่างของการจินตนาการภาพถ่าย อันแสดงให้เห็นถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่จะเกิดขึ้นเพียง 5 – 8 เปอร์เซ็นต์ของเด็กก่อนวัยรุ่น (Pre-adolescent) กล่าวคือมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากของเด็กที่มีการจินตนาการภาพถ่ายซึ่งส่วนใหญ่ความสามารถนี้จะหายไปตลอดประมาณช่วงวัยรุ่น
ไม่มีใครทราบชัดเจนว่าทำไมการจินตนาการภาพถ่ายหายไปจากผู้ใหญ่อแต่มีบางข้อแนะนำว่าอาจเป็นเพราะผู้ใหญ่เรียนรู้ที่จะพึ่งพาผ่านคำศัพท์มากกว่ารูปภาพ
จะมี 1 หรือ 2 ครั้งที่การจินตนาการภาพถ่ายเกิดขึ้นในช่วงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมันเรียกว่า “ความทรงจำภาพถ่าย” (Photographic memory) ซึ่งมนุษย์หลายคนเคยมีประสบการณ์ที่มีความทรงจำที่สดใสหรือมีรายละเอียดที่ชัดเจนที่เรียกว่าความจำที่เกิดจากเหตุการณ์ที่มีรายละเอียดอย่างมาก (Flashbulb memory)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Flashbulb memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Flashbulb_memory[2021, October 30].