จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 341: ความทรงจำรูปภาพ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 24 ตุลาคม 2564
- Tweet
ประเภทหนึ่งของความผิดปกติทางความทรงจำ (Memory) ที่มนุษย์หลายคนอยากมีความสามารถ นั่นคือสามารถที่จดจำได้ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยที่ไม่มีความลำบากที่จะระลึกถึงมัน
ความทรงจำที่เหลือเชื่อนี้เรียกว่าความทรงจำรูปภาพ (Photographic memory) อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างความคมชัด, รายละเอียดของภาพที่เห็น (Visual image) หลังจากตรวจสอบรูป, หรือหน้ากระดาษในช่วงเวลาที่สั้น
ไม่เคยมีรายงานว่ามนุษย์คนไหนสามารถพัฒนาความทรงจำรูปภาพได้ และมีเพียงแค่ 1 ถึง 2 รายงานที่ระบุเกี่ยวกับผู้ใหญ่ที่มีความทรงจำด้านนี้ที่แท้จริง
บางครั้งมีการเชื่อมโยงผิด (Mislabel) เกี่ยวกับมนุษย์ที่มีความทรงจำพิเศษ (Exceptional memory) ว่าพวกเขามีความทรงจำรูปภาพ ยกตัวอย่างเช่น ราจาน (Rajan) บุคคลที่เราเคยกล่าวถึงก่อนหน้านี้ ว่าเขาสามารถจำเลขได้ถึง 31,811 ตัว เขาปฏิเสธว่าเขามีความทรงจำรูปภาพที่เป็นเลิศ
ในการแข่งขันเรื่องความทรงจำระดับชาติที่ผ่านมา (US Memoriad) ทาทิน่า คูลลี่ (Tatina Cooley) ได้รางวัลที่ 1 โดยเธอได้แสดงความทรงจำที่น่าทึ่งได้สำเร็จ
เช่นทาทิน่าจับคู่ระหว่าง 70 ชื่อกับใบหน้ามนุษย์หลังจากเรียนรู้ 100 ใบหน้าซ้อนกัน ในเวลาเพียง 20 นาที ในวัยเด็ก แม่ของทาทิน่า มักอ่านหนังสือให้เธอฟัง และช่วงที่เธออายุ 2 ปีครึ่ง ทาทิน่าได้อ่านหนังสือกลับให้แม่ของตนเองฟัง 1 เรื่อง
ในช่วงที่ทาทิน่าอยู่ในมหาวิทยาลัยเธอกล่าวว่า “ฉันจดจำภาพบันทึกที่เคยจดในห้องเรียนได้และสามารถระลึกถึงและนำมาใช้แบบคำต่อคำได้ในช่วงสอบ เพราะฉะนั้น ฉันไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือสอบ”
ในการที่เก็บความทรงจำเธอให้คมชัด เทาทิน่าจะใช้เวลา 45 นาที ต่อวันในการจดจำลำดับไพ่ ซึ่งไพ่พวกนั้นมีการสลับใหม่ตลอด ความสามารถของทาร์ทิน่าในการใช้ภาพเพื่อการจดจำบันทึกของเธอระหว่างสอบ เข้าใกล้กับความต้องการของมนุษย์ที่อยากมีความทรงจำรูปภาพ
เรามีตัวอย่างน้อยมากของผู้ใหญ่ที่มีความทรงจำรูปภาพ และก็มีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากของเด็กที่มีความทรงจำประเภทนี้ กล่าวคือ ความสามารถมองรูปภาพเพียงไม่กี่วินาที แล้วสามารถอธิบายรูปภาพได้อย่างมีรายละเอียดซึ่งความทรงจำประเภทนี้เรียกว่า การจินตนาการภาพถ่าย (Eidetic imagery)
ความทรงจำดังกล่าวเป็นการสร้างความทรงจำรูปภาพที่เกิดขึ้นในเด็กเป็นความสามารถในการตรวจสอบรูปภาพหรือหน้ากระดาษ ในเวลา 10 – 30 วินาที โดยที่ในเวลาต่อมา พวกเขายังสามารถเก็บรายละเอียดรูปภาพเกี่ยวกับสิ่งนั้นได้เวลาหลายนาที
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Eidetic memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Eidetic_memory[2021, October 23]