จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 340: การพูดกับการเขียน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-340

      

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 340: การพูดกับการเขียน (2)

      

ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว นิทานเรื่อง “สงครามของผี” ผู้ชายคนหนึ่งใน 2 คนกล่าวว่าพวกเขาไม่มีธนู แต่ชายบนเรือตอบว่าในเรือพวกเขามีธนู ชายคนหนึ่งใน 2 นั้นตอบกลับว่า “ตัวเขาจะไม่ไปเพราะอาจจะโดนฆ่าได้ ญาติเขาไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาอยู่ไหน” แต่ชายอีกคน ก็ตัดสินใจไปกลับกลุ่มชายบนเรือ โดยชายคนที่ไม่ไปด้วย ขอแยกตัวกลับบ้าน

กลุ่มนักรบได้กลับขึ้นผิวน้ำไปยังเมืองฝั่งตรงข้ามของผืนดิน และต่อมาผู้คนได้ลงมาในน้ำและได้มีการต่อสู้เกิดขึ้นอย่างดุเดือด จนทำให้มีคนล้มตายมากมาย

เรื่อง “สงครามของผี” นี้ได้มีการอ่านออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษให้นักศึกษามหาวิทยาลัย ที่วิทยาลัย วินเนบาร์ (Winneba) ของประเทศกาน่าและมหาวิทยาลัย นิวยอร์ก (New York University)

เด็กแต่ละกลุ่มจะได้ฟังนิทาน 2 รอบและได้มีการแจ้งนักเรียนว่าให้ฟังเพียงอย่างเดียว เพื่อเด็กจะได้ไม่มีการจดบันทึกให้กับตัวเอง และมีการแจ้งว่าพวกเขาจะได้รับการทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาของนิทานเรื่องนี้ แม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ภาษาแม่ของนักเรียนกาน่า แต่พวกเขาได้เรียนก่อนเข้าวิทยาลัยและในวิทยาลัยของพวกเขายังใช้แต่ภาษาอังกฤษ

แต่ 16 วัน หลังจากได้ฟังนิทาน “สงครามของผี” ได้มีการให้นักเรียนเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่พวกเขาจะจดจำได้ นักวิจัยได้ให้คะแนนจำนวนความแม่นยำของการระลึกถึงข้อมูล ซึ่งการให้คะแนนจะนับจากจำนวนความคิดหรือแก่นเรื่อง (Theme) และจำนวนคำซึ่งมีถึง 330 คำ

ได้มีการนำนิทานเรื่อง “สงครามของผี” มาใช้บ่อยในการวิจัยความทรงจำ เพราะว่ามันสามารถแตกแขนงได้ถึง 21 แก่นเรื่องหรือความคิด และการให้คะแนนนั้นทำได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น 1 ใน 21 แก่นเรื่องของนิทานคือ (1) ผู้ชายสองคนเดินทางไปล่าแมวน้ำและ (2) พวกเขาได้ยินเสียงร้องไห้ในสงคราม

ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่านักศึกษากาน่าจดจำนัยสำคัญของแก่นเรื่องและจำนวนคำ เป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่านักศึกษาอเมริกัน ซึ่งประสิทธิภาพที่น่าทึ่งของนักศึกษากาน่าเป็นที่น่าจดจำมากขึ้นเมื่อพวกเขาได้รับการทดสอบให้เขียนแก่นเรื่องหรือความคิดเป็นภาษาอังกฤษอันเป็นภาษาที่สองของพวกเขา

ผลลัพธ์ที่ได้สนับสนุนความคิดที่ว่า นักศึกษากาน่าแสดงความน่าทึ่งของการระลึกถึงข้อมูลผ่านบทพูด เพราะประเพณีปากเปล่า (Oral tradition) ที่มีมายาวนานซึ่งเกี่ยวโยงกับการฝึกเข้ารหัสผ่านการฟังแทนการอ่าน การศึกษานี้แสดงให้เห็นการเน้นย้ำทางวัฒนธรรม ว่าข้อมูลมีการแสดงหรือนำมาสอนได้อย่างไร และสามารถส่งผลว่าข้อมูลหรือเหตุการณ์นั้น หรือเข้ารหัสอย่างไร และการระลึกถึงที่ง่ายได้อย่างไร

ประเพณีปากเปล่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารของมนุษย์ (Human communication) ที่ซึ่งความรู้, ศิลปะ, และวัฒนธรรมที่ได้รับมา (Received) ผ่านการสงวนรักษา (Preserve) และส่งผ่าน (Transmit) ด้วยปากข้ามชั่วอายุคน ในรูปแบบของนิทานพื้นบ้าน (Folk-tale), สวดมนต์ (Chanting), เพลง (Ballad), ร้อยแก้ว (Prose), ร้อยกรอง (Verse) ฯลฯ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Oral tradition - https://en.wikipedia.org/wiki/Oral_tradition[2021, October 16]