จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 339: การพูดกับการเขียน (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 17 ตุลาคม 2564
- Tweet
บางคน (Individual) อาจเริ่มจากการเข้าบำบัดเพื่อรักษาปัญหาทางอารมณ์หรือปัญหาด้านการกิน แต่ในระหว่างการบำบัดพวกเขาสามารถรื้อฟื้นความทรงจำ ที่ถูกกดทับ (Repressed) ในวัยเด็กเกี่ยวกับการโดนล่วงละเมิดทางเพศ แต่นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า นักสามารถปลูกฝัง (Implanted) ความทรงจำที่บิดเบือน (False memory) ผ่านการแนะนำหรือความเชื่อว่าเป็นความทรงจำจริง
ในบางกรณีการฟื้นฟูความทรงจำของคนไข้สามารถเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์จากความอ้วน (Obesity) และต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อการลดน้ำหนัก รวมถึงการบำบัดจิตใจ (psychotherapy) ในขณะการบำบัดผู้ป่วยคนหนึ่งนึกถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยพี่ชายขณะเธออายุ 5 ปี ซึ่งต่อมาพี่ชายของเธอเสียชีวิตในสงคราม
ในขณะที่ผู้ป่วยท่านนี้ค้นหาสิ่งของ ของพี่ชายเธอพบว่าสมุดจดบันทึกที่อธิบายเรื่องร่วมเพศที่เกิดขึ้นกับน้องสาวของเขา ในกรณีนี้ ผู้หญิงคนนี้ มีความทรงจำที่ถูกกดทับ สามารถพิสูจน์ความจริงเพราะมีหลักฐานยืนยัน (สมุดบันทึกของพี่ชาย) แต่อีกหลายกรณีไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความแม่นยำของความทรงจำที่ฟื้นฟูได้เพราะไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากรายงานของผู้ป่วยว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญเคยเกิดขึ้นเมื่อ 20 – 30 ปีหรือไม่
มีเหตุผลที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับความแม่นยำของความทรงจำที่ฟื้นฟูขึ้นมาภายใต้การสะกดจิต (Hypnosis) หรือยาพูดความจริง (Truth serum) ที่รู้จักกันในนามโซเดียม อมิลทอล (Sodium amytal) ซึ่งคนเราจะมีการเปิดใจที่จะได้รับคำแนะนำและต่อมาสามารถนึกถึงเหตุการณ์ที่มีการแนะนำระหว่างสะกดจิตว่าเป็นเรื่องจริง
รายงานจากผู้ป่วยมากกว่า 300 ราย ที่มีพลังงานย้อนกลับของเหตุการณ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็กซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความทรงจำที่ฟื้นฟูได้ในระหว่างการบำบัด แต่ก็มีอีกหลายกรณี ที่ผู้ป่วยหลายคนสามารถฟ้องร้องเป็นคดีสำเร็จและได้รับเงินชดเชยจำนวนมาก จากการที่นักบำบัดของพวกเขา ปลูกฝังความทรงจำที่บิดเบือนเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก
นักวิจัยเกี่ยวกับความทรงจำนามว่า อลิสเบ็ต ลอฟตัส (Elizabeth Loftus) กล่าวว่า มีตัวอย่างของการฟื้นฟูความทรงจำที่แม่นยำ แต่การอ้างอิงจากงานวิจัยของเธอหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องกับอัตราการปลูกฝังความทรงจำที่ละเอียดอ่อน ในเวลาต่อมา กลายเป็นความทรงจำที่บิดเบือน และเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่สามารถฟื้นฟูความทรงจำได้แต่มีคำถามต่อมาว่าความทรงจำเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่
ลอฟตัสแนะนำว่าความทรงจำที่ฟื้นมาได้นั้น อาจเกิดความผิดพลาด เพราะความทรงจำพวกนั้นอาจถูกปลูกฝังโดยคำแนะนำของนักบำบัด หรือสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเพื่อนำมาใช้ในการอธิบายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทางจิตที่มีในปัจจุบัน จากเหตุผลเหล่านี้ การชี้นำในปัจจุบันจากนักบำบัด จึงมักต้องมีคำเตือนเพื่อระวังในการใช้คำแนะนำที่รุนแรงหรือชวนเชื่อเพื่อแสดงให้ผู้ป่วยเห็นภาพความทรงจำ ที่อาจไม่เคยเกิดขึ้น
อีกมุมหนึ่งคำถามและข้อโต้เถียงเกี่ยวกับความแม่นยำของความทรงจำที่ถูกกดทับและความทรงจำที่มีการฟื้นฟู คือความทรงจำเหล่านั้นมีความแม่นยำและสามารถช่วยผู้ป่วยให้เข้าใจถึงปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นได้ จริงหรือไม่
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Oral tradition - https://en.wikipedia.org/wiki/Oral_tradition[2021, October 9]