จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 337: การปลูกฝังความทรงจำที่บิดเบือน (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 3 ตุลาคม 2564
- Tweet
มีตัวอย่างมากมายที่นักบำบัดทางจิตช่วยเหลือผู้ป่วยฟื้นฟูและจัดการกับความทรงจำที่ถูกกดทับ แม้ว่านักบำบัดทางจิตอยู่ในจุดที่ยากลำบาก ในการพยายามแยกแยะความแม่นยำ (Accurate) ของความทรงจำที่ถูกกดทับจากผู้ป่วยที่ก่อรูป (Shaped) หรือถูกเสริมแรง (Reinforced) โดยคำแนะนำ หรือความคาดหวังของนักบำบัดทางจิต
ดังนั้นจึงมีคำถามว่าความทรงจำถูกกดทับซึ่งได้รับอิทธิพลจากคำแนะนำของนักบำบัดทางจิต สามารถปลูกฝัง (Implant) ความทรงจำที่บิดเบือนได้หรือไม่ นักวิจัยศึกษาประเด็นดังกล่าว ต่อมาสรุปว่า อาจเป็น “ความจริง” ได้
นักวิจัยให้หนังสือเล่มเล็ก (Booklet) แก่ผู้ใหญ่ (ผู้เข้าทดลอง) 24 คน ซึ่งในหนังสือมีคำอธิบาย 3 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนพวกเขาอายุ 5 ปี โดยที่ 2 เหตุการณ์ที่ระบุในหนังสือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะมีการรายงานจากพ่อแม่หรือญาติของคนที่เข้าทดลองพวกนั้น แต่อีก 1 เหตุการณ์ในวัยเด็กของการหลงทางในห้างสรรพสินค้าจนร้องไห้และได้รับการดูแลจากผู้หญิงวัยชรา จนสุดท้ายสามารถกลับมารวมตัว (Reunited) กับครอบครัวได้อีกครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น (อิงจากข้อมูลของแม่และญาติ)
หลังจากที่ผู้เข้าทดลองได้อ่าน 3 เหตุการณ์ ดังกล่าวที่ระบุในหนังสือ มีการให้ผู้เข้าทดลอง (อายุ 18 – 53 ปี) เขียนสิ่งที่พวกเขาจดจำได้เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือเขียนว่าพวกเขาจำไม่ได้ ถ้าพวกเขาไม่สามารถระลึกถึงความทรงจำนั้นได้
ผลลัพธ์ปรากฏว่า 68% ของผู้เข้าทดลองสามารถจดจำ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ในวัยเด็ก อย่างไรก็ตาม ประมาณ 29% ยังพูดว่าพวกเขาสามารถจำได้ว่าเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง (หลงทางในห้างสรรพสินค้าตอนอายุ 5 ปี) ได้ แม้จะมีการติดตามผลการสัมภาษณ์ภายหลัง 25% ของผู้ที่เข้าทดลองแจ้งว่าพวกเขาสามารถจดจำประสบการณ์ที่นักวิจัยแนะนำ แต่เป็นเหตุการณ์เท็จที่เคยหลงทางในห้างสรรพสินค้า
นักวิจัยสรุปว่า แม้ว่าความทรงจำของการหลงทางในห้างสรรพสินค้าไม่ได้มีความน่ากลัวและสะเทือนใจเท่ากับความทรงจำของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่การศึกษานี้ ก็แสดงให้เห็นว่าความจำเท็จสามารถปลูกฝังเข้าไปในสมองคน เพียงแค่ได้รับคำแนะนำจากนักบำบัดทางจิต แม้จะมีการติดตามต่อ (Follow-up) ผู้เข้าทดลองยังคงยืนกรานต่อว่าพวกเขายังจดจำสิ่งที่เป็นเท็จได้
ในสมัยนี้ มีการศึกษามากมายที่รายงานว่าข้อมูลเท็จสามารถปลูกฝังได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงว่าความทรงจำที่บิดเบือนสามารถถูกปลูกฝังและต่อมาสามารถระลึกถึงให้เป็นเรื่องจริง แต่ยังไม่มีทางหักล้าง (Disprove) การเกิดขึ้นของความทรงจำที่ถูกกดทับ (Repressed memory)
การศึกษาเกี่ยวกับการปลูกฝังความทรงจำที่บิดเบือนได้ แสดงให้เห็นได้ง่ายดายว่าการให้คำแนะนำที่ผิดอาจลุกลามกลายเป็นความชัดเจน (Vivid), รายละเอียด (Detailed), ความทรงจำส่วนบุคคลที่น่าเชื่อ (Believable) ในการศึกษาซ้ำ (Repeat) แล้ว พบว่าความทรงจำที่บิดเบือนสามารถปลูกฝังเข้าไปในเด็กและผู้ใหญ่ และต่อมาจดจำว่าเป็นเหตุการณ์จริง อันนำพาไปสู่คำถามเกี่ยวกับความแม่นยำของความทรงจำที่ถูกกดทับ ซึ่งต่อมาได้รับการฟื้นฟูและเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Repressed memory - https://en.wikipedia.org/wiki/Repressed_memoryioning [2021, Sep 25].