จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 333: การฝึกฝนและการเข้ารหัส (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-333

      

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 333: การฝึกฝนและการเข้ารหัส (1)

ให้ลองนึกถึงการเข้ารหัส (Encoding) ในสมองของคนเราอันคล้ายกับการจัดเก็บข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ (Hard drive) ของคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ (Gigantic) การเติมข้อมูลมากมายลงในคอมพิวเตอร์มีความยุ่งยากอย่างสูง รวมทั้งการค้นหาหรือเรียกใช้ (Retrieve) ข้อมูลนั้นจากฮาร์ดไดรฟ เว้นแต่เรามีระบบการติดฉลาก (Labeling) แต่ละไฟล์ (File)

ในทำนองเดียวกัน คนเราสามารถจดจำหรือเรียกใช้ข้อมูลเฉพาะทางได้ง่ายแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความพายายามที่เขาใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลนั้น

มี 2 ประเภทของการเข้ารหัสโดยใช้ความพายายาม กล่าวคือ การฝึกฝนเพื่อให้คงอยู่ (Maintenance rehearsal) และการฝึกฝนอย่างละเอียด (Elaborative rehearsal)

วิธีที่ง่ายที่สุดในการจำข้อมูลในระยะที่สั้นคือ เช่นการจำหมายเลขโทรศัพท์ ยกตัวอย่างเช่น “926-4029” ถ้าทำให้ง่ายดายคือการพูดซ้ำหรือฝึกฝนมัน ซึ่งความพายายามนี้คือการฝึกฝนเพื่อให้คงอยู่

การฝึกฝนเพื่อให้คงอยู่หมายถึงการย้ำง่ายๆ หรือการฝึกฝนข้อมูลนั้นแทนที่จะสร้างความเชื่อมโยงใหม่ ซึ่งการฝึกฝนเพื่อให้คงอยู่ทำงานดีที่สุดเพื่อคงสะภาพหรือเก็บข้อมูลได้ยาวกว่าความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory) เช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์ในเวลาไม่กี่วินาทีขณะกำลังกดหมายเลข

อย่างไรก็ตาม หากคนเราต้องการจำหมายเลขโทรศัพท์ไว้ใช้ภายหน้า การฝึกฝนเพื่อให้คงอยู่ ไม่ใช่ระบบการเข้ารหัสที่ดีเพราะมันไม่เกี่ยวโยงกับระบบติดตามว่าหมายเลขโทรศัพท์นั้นจัดเก็บอย่างไร

ถ้าเราต้องการจำหมายเลขโทรศัพท์เป็นเวลายาวนานและต้องการหลีกเลี่ยงในการหยิบหมายเลขมาดูบ่อยๆ เราต้องใช้ความพายายามในการเข้าระหัสแบบอื่นที่เรียกว่า การฝึกฝนอย่างละเอียด

ในชีวิตประจำวันของเรา อาจมีหมายเลขโทรศัพท์บางหมายเลขและข้อมูลมากมายจากบทเรียนและหนังสือที่เราต้องการให้มีการเข้ารหัส เพื่อที่เราจะสามารถจดจำข้อมูลนั้นได้ในระยะยาว การฝึกฝนอย่างละเอียดจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการตอบโจทย์ดังกล่าว

การฝึกฝนอย่างละเอียดอ่อนหมายถึงการใช้ความพายายามเพื่อสร้างความหมายอย่างชัดเจนในการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลใหม่ที่เราต้องการจดจำและข้อมูลเก่าที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งพวกมันถูกจัดเก็บในความทรงจำระยะยาว

ยกตัวอย่างของการใช้วิธีฝึกฝนอย่างละเอียดเช่น เราสามารถใช้การเชื่อมโยงหมายเลขโทรศัพท์ “926-4029” กับอายุ (เราจดจำว่า คนชราคือ 926, เขาไม่ได้อายุ 40 ปี, แต่เขาปรารถนาที่จะอายุเพียง 29 ปี)

ในการระลึกถึงความทรงจำหมายเลขนี้ เราต้องเชื่อมโยงหมายเลขโทรศัพท์กับอายุ โดยที่ความเชื่อมโยงนี้จะนำพาไปสู่หมายเลขในที่สุด

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Rehearsal - https://en.wikipedia.org/wiki/Rehearsal [2021, Aug 28].