จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 332: วิธีเข้ารหัส (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 22 สิงหาคม 2564
- Tweet
หลายคนอาจรู้จักคนที่เป็นแฟนกีฬาตัวยง (Avid) หรือคนที่ดูละครน้ำเน่า (Soap opera) ทางโทรทัศน์รายวัน ซึ่งพวกเขาสามารถจดจำรายละเอียดได้มากมาย โดยดูเหมือนว่าพวกเขาไม่ได้ใช้ความพายายามใดในการจดจำมัน ในความเป็นจริง ข้างต้นเป็นตัวอย่างของข้อมูลเชิงความหมาย (Semantic information) อันเป็นความสนใจส่วนบุคคลและเป็นความสัมพันธ์ที่เคยผ่านมา (Previous) ซึ่งต่อมาพวกมันได้มีการเข้ารหัสอย่างอัตโนมัติถึงความทรงจำระยะยาวที่ชัดแจ้ง (Declarative long-term memory)
การเรียนรู้เพื่อแสดงทักษะการเคลื่อนไหว (Motor skill) หลากหลาย อันได้แก่ การเล่นเทนนิสหรือขี่จักรยาน, และการพัฒนานิสัยเช่นการแปรงฟัน ต่างเป็นตัวอย่างของข้อมูลเชิงขั้นตอนวิธี (Procedural information) อันเป็นสิ่งที่มีการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ
ยกตัวอย่างเช่น ทำไมผู้ป่วยทางสมองบางคนจึงสามารถเรียนการวาดรูปผ่านกระจกได้ (Mirror-drawing) เพราะการวาดรูปดังกล่าว เป็นทักษะการเคลื่อนไหวที่มีการเข้ารหัสไปในความทรงจำโดยอัตโนมัติ ในอีกแงมุมหนึ่ง ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลทางเทคนิค (Factual or technical information) จากหนังสือ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เข้ารหัสโดยอัตโนมัติ แต่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความพายายาม (Effort) ในการจดจำมัน
โดยส่วนใหญ่การเรียนรู้สิ่งที่คนไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงความหมาย เช่นคำศัพท์ที่ซับซ้อน (Complex) เป็นสิ่งที่เข้ารหัสได้ยาก เพราะข้อมูลพวกนี้ไม่ได้อยู่ในความสนใจของเรา, ยุ่งเหยิง (Complicated), หรือต้องการสิ่งเชื่อมโยงใหม่ หรือยากที่จะเชื่อมโยงถึง
ข้อมูลเชิงความหมายเช่นคำศัพท์ สามารถเข้ารหัสได้เพียงเมื่อต้องใช้ความสนใจที่มากขึ้น ซึ่งการเข้ารหัสโดยการใช้ความพยายามเกี่ยวโยงกับการย้าย (Transfer) ข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้นไปความทรงจำระยะยาว โดยการฝึกฝน (Rehearse) หรือความพยายามอย่างมากที่จะจดจำมัน หรือการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลเก่ากับข้อมูลใหม่
ทุกคนรู้ว่าข้อมูลบางอย่างเช่นการเรียนรู้, ความสามารถทางนิสัย, หรือเหตุการณ์ความชอบส่วนบุคคล ส่วนใหญ่แล้วเป็นการเข้ารหัสโดยไม่ต้องใช้ความพายายามและอัตโนมัติ ในทางตรงกันข้ามข้อมูลเชิงความหมาย เช่นการเรียนรู้คำศัพท์มากมายหรือคำที่ซับซ้อน, ข้อเท็จจริง, แนวคิด (Concept), หรือสมการ (Equation) ปกติต้องอาศัยความพายายามในการเข้ารหัสเพราะมนุษย์ต้องสร้างความเชื่อมโยงมากมาย
เป็นธรรมดาอยู่เองที่การสร้างความเชื่อมโยงต้องใช้ความตั้งใจสูงและมีความยากมากกว่าถ้ามนุษย์เรียนวิชาที่ซับซ้อนพร้อมกัน 2 – 3 วิชา หรือมีเวลาที่จำกัดเพราะมีความรับผิดชอบ (Responsibility) อื่น เช่นงานเสริม (Part-time job)
มี 2 วิธีของการเข้ารหัสโดยใช้ความพายายาม (1) คือการฝึกฝน และ (2) คือการสร้างสิ่งเชื่อมโยง วิธีที่ได้ประสิทธิผลที่สุดคือการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลใหม่ที่เรากำลังจะเรียนรู้และข้อมูลเก่าที่เคยจัดเก็บไว้ในความทรงจำระยะยาว ถ้ามีการใช้ความพายายามที่มากขึ้นเท่าใด จะมีผลต่อการระลึกถึงข้อมูลนั้นในเวลาสอบได้ดีขึ้นเท่านั้น
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Encoding (memory) https://en.wikipedia.org/wiki/Encoding_(memory)[2021, Aug 21].