จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 331: วิธีการเข้ารหัส (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-331

      

จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 331: วิธีการเข้ารหัส (1)

สิ่งที่น่าสนใจ (Amazing) ในชีวิตประจำวัน ก็คือ ทำไมคนเราถึงสามารถพูดซ้ำซาก (Repeat) เกี่ยวกับเรื่องไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในบางวันได้อย่างละเอียด ทั้งๆ ที่ไม่มีใครใช้ความพายายามในการจดจำเหตุการณ์เหล่านั้น และไม่มีการทบทวนบันทึกเพราะไม่มีใครจดมันไว้

พวกเราทุกคนสามารถจดจำเรื่องวันแย่ๆ (Bad day) ได้ง่ายและสามารถระลึกถึง (Recall) ความทรงจำเหตุการณ์เหล่านี้ได้เพราะเหตุการ์พวกนี้ได้มีการเข้ารหัส (Encoding) ในความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) โดยอัตโนมัติ (Automatically) โดยไม่ต้องใช้ความพายายามใดๆ

การเข้ารหัสหมายถึงการรับ (Acquiring) และจัดเก็บ (Storing) ข้อมูลโดยการเปลี่ยนมันให้กลายเป็นกลาง (Neutral) หรือรหัสความทรงจำ (Memory code)

ข้อมูลบางอย่างเช่นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือบทสนทนากับเพื่อนเหมือน เป็นการเข้ารหัสโดยไม่ต้องใช้ความพายายามซึ่งสามารถระลึกถึงได้ง่ายโดยอัตโนมัติ

โดยปกติ ข้อมูลอื่นเช่นการจำคำศัพท์ (Term) หรือความหมาย (Definition) ต้องใช้ความตั้งใจ (Deliberate) อย่างละเอียดอ่อนและเวลาที่มากซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่มนุษย์จะระลึกถึงความทรงจำนี้ในเวลาสอบ

ความแตกต่างของระหว่างการเข้ารหัสเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในชีวิตประจำวันกับการจำศัพท์ในหนังสือบ่งชี้ให้เห็นถึง 2 ประเภทของการเข้ารหัสคือการเข้ารหัสที่ต้องใช้และไม่ต้องใช้ความพายายาม (Effort)

คนส่วนใหญ่สามารถนึกถึงเรื่องน่ารำคาญที่เกิดขึ้นในวันได้ง่ายและอย่างมีรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่นมีคนสามารถระลึกถึงรายการยาวๆ ของกิจกรรมที่มีการเข้ารหัสลงในความทรงจำระยะยาวของเขาได้อย่างละเอียด

ในความเป็นจริง เหตุการณ์ส่วนบุคคล (ส่วนใหญ่คือสิ่งไม่พึงประสงค์) เป็นสิ่งเดียวกับกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ (ภาพยนตร์, เพลง, กีฬา) และทักษะที่หลากหลาย (เช่น การขี่จักรยาน) และนิสัย เป็นสิ่งที่ได้รับการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ

การเข้ารหัสโดยอัตโนมัติหมายถึงการย้าย (Transfer) ข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory) ไปยังความทรงจำระยะยาวโดยที่ไม่ต้องใช้ความพายายามและปกติเป็นสิ่งที่คนไม่ได้ตระหนักถึง (Aware)

เหตุผลที่ประสบการณ์ (Experience) และบทสนทนา (Conversation) ส่วนบุคคลมีการเข้ารหัสได้อัตโนมัติเพราะมันดึงความสนใจ (Interest) และสมาธิ (Attention) ของพวกเขาได้ง่ายและเป็นการเข้ากับการเชื่อมโยงที่เคยเกิดขึ้น

แม้ว่าประสบการณ์ส่วนบุคคลอันเป็นตัวอย่างของข้อมูลอาศัยเหตุการณ์ (Episodic information) เป็นการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติไปในความทรงจำระยะยาว เช่นเราสามารถระลึกถึงบทสนทนายาวๆ (Lengthy), ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาพยนตร์ หรือนักกีฬา (Sport figure), รายการโทรทัศน์, เสื้อผ้าที่ซื้อ, หรืออาหารที่เคยรับประทาน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Encoding (memory) https://en.wikipedia.org/wiki/Encoding_(memory)[2021, Aug 14].