จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 330: มุ่งเน้นงานวิจัย: ฮอร์โมนและความทรงจำ (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 8 สิงหาคม 2564
- Tweet
ปกติฮอร์โมนทั้งสองจะถูกสร้างขึ้นในขณะที่อยู่ในช่วงสภาวะทางอารมณ์ (Emotional states) หลังจากที่กลุ่มทดลองได้รับยาตัวนี้ พวกเขายังคงรู้สึกถึงช่วงสภาวะทางอารมณ์ แต่ตัวยาดังกล่าวจะหยุดการหลั่ง (Secretion) ของฮอรโมนที่จะซึ่งเคยแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของความทรงจำในสัตว์
ผู้เข้าทดลองในกลุ่มควบคุมจะได้รับยาหลอก (Placebo) แต่เพราะเป็นการทดลองที่อำพรางทั้งสองฝ่าย (Double blind procedure) ไม่มีผู้เข้าทดลองใดรู้ว่ากลุ่มของพวกเขาเองได้รับยาจริงหรือยาหลอก ดังนั้นยาจึงมีเวลาในการออกฤทธิ์ ผู้เข้ารับการทดลองได้รับยาจริงและยาหลอก 1 ชั่วโมงก่อนที่พวกเขาจะเริ่มชมชุดสไลด์ (Series of slides)
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลำเอียง (Bias) ผู้เข้ารับการทดลองจะไม่ทราบว่าตนเองได้รับยาจริงหรือยาหลอก ผู้เข้ารับการทดลองได้ชมชุดสไลด์ 12 แผ่น และได้ฟังเรื่องราวไปพร้อมกัน (Accompanying) ซึ่งในช่วงแรกของสไลด์เป็นเรื่องราวทางอารมณ์ที่อยู่ระดับปกติ (Neutral) เพียงอธิบายถึงแม่ที่ออกจากบ้านพร้อมลูกชายเพื่อไปเยี่ยมสามีของเธอในที่ทำงาน
ส่วนกลางของสไลด์ได้เริ่มมีการเพิ่มระดับทางอารมณ์อันเกี่ยวกับลูกชายที่ได้รับอุบัติเหตุ (Accident) ซึ่งเท้าของเขาถูกตัดขาด (Severed) และส่วนกะโหลกถูกทำลาย (Damaged) และในตอนจบของสไลด์ได้ดึงระดับอารมณ์ให้เป็นปกติโดยการที่แม่ได้ออกจากโรงพยาบาลเพื่อไปรับลูกชายอีกคนจากโรงเรียนเตรียมอนุบาล (Pre-school) ซึ่งในสัปดาห์ต่อมา ผู้เข้ารับทดลองได้ถูกทดสอบการเก็บรักษาความทรงจำเกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสไลด์
จากการคาดเดาของเจมส์ที่อิงถึงงานวิจัยในสัตว์ เขาและทีมงานกล่าวว่าคนที่ได้รับยาที่หยุดการหลั่งของฮอร์โมนในช่วงที่มีสภาวะทางอารมณ์ จะแสดงการเก็บรักษา (Retention) ความทรงจำในช่วงสภาวะอารมณ์ได้ต่ำกว่า
นักวิจัยพบว่าทั้งคนที่ได้รับยาจริงและยาหลอกสามารถจดจำช่วงอารมณ์ปกติของสไลด์ได้เท่ากัน อย่างไรก็ตามถ้าเปรียบเทียบกับผู้เข้ารับการทดลองที่ได้ยาหลอก ผู้ที่ได้รับยาจริงจะแสดงความทรงจำของช่วงเวลาที่มีอารม์เร้า (Emotionally charged) ในสไลด์ได้น้อยกว่ากลุ่มคนที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ
การศึกษาอื่นในคน พบว่าเช่นเดียวกับในหนู ความรู้สึกที่กดดันจะถูกกระตุ้น (Triggered) โดยอารมณ์หรือเหตุการณ์ความเครียดให้มีการเข้ารหัส (Encode) หรือ “สลักในหิน” (Carved in stone) โดยการหลั่งของฮอร์โมนขณะที่ถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ทางอารมณ์ อันทำให้ความทรงจำช่วงเวลานี้ดีกว่า (Better remembered)
บทสรุปนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของเจมส์ แมคกอฟห์ ผู้เชื่อว่าเหตุผลหนึ่งที่อารมณ์ความรู้สึกประทับตราความทรงจำอันยาวนาน ก็เพื่อให้เผ่าพันธุ์ (Species) ของสิ่งมีชีวิตดำรงอยู่รอด (Survive) ปลอดจากภัยทั้งปวง
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- James McGaughhttps://en.wikipedia.org/wiki/James_McGaugh[2021, Aug 7].