จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 329: มุ่งเน้นงานวิจัย: ฮอร์โมนและความทรงจำ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-329

      

หลายคนอาจจะมีความทรงจำที่สดใส (Vivid) เกี่ยวโยงกับสถานการณ์ทางอารมณ์ที่พุ่งสูงมาก (Highly-charted emotion) ยกตัวอย่างเช่น ลองจินตนาการถึงความรู้สึกตื่นเต้น (Excitement) ทางอารมณ์ของวีนัส วิลเลี่ยม (Venus William) เมื่อเธอได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันเทนนิสที่วิมเบิลดอน (Wimbledon) เธอกระโดด (Leap) โลดเต้นไปรอบๆ สนาม

วีนัสกล่าวว่าเธอ “ฝึกซ้อมหนักมากตลอดชีวิต เพื่อที่จะมาถึงจุดนี้ มันเป็นสิ่งที่ไม่คาดฝัน (Unbelievable)” ซึ่งเธอจะจดจำประสบการณ์นี้ไปตลอดชีวิตที่เหลือของเธอ เพราะว่าบางอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความรู้สึกทางอารมณ์รุนแรง จะเพิ่มโอกาสของความจำเฉพาะ (Particular) สำหรับสถานการณ์, ผู้คน, และเหตุการณ์

อันที่จริงแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในการพัฒนาความทรงจำ ในขณะของเหตุการณ์ทางอารมณ์ มักเกี่ยวโยงกับระบบงานวิจัยของความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ที่เริ่มต้นมาจากสัตว์ และเราเคยอธิบายว่านักวิจัยอาจจะใช้สัตว์เป็นต้นแบบ (Model) ในการตอบโจทย์ เพื่อความปลอดภัยของมนุษย์ ด้วยเหตุผลของคุณธรรมหรือจริยธรรม ที่ไม่อาจใช้มนุษย์เป็น ตัวทดลอง (Subject)

เนื่องจากความกังวลด้านความปลอดภัยของมนุษย์ นักจิตวิทยาประสาท (Neuro-psychologist) เจมส์ แมคกอฟห์ (James McGaugh) ชาวอเมริกัน จึงใช้สัตว์เพื่อศึกษาว่าฮอร์โมน (Hormones) ถูกสร้างขึ้นในขณะความรู้สึกทางอารมณ์ มีผลกระทบถึงความทรงจำได้อย่างไร

เขาเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ (Emeritus) ในสาขาวิชาชีววิทยาประสาทและพฤติกรรม (Neuro-biology and behavior) ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เออร์วิง (University of California at Irving) และเป็นผู้ก่อตั้ง (Founder) และผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์ชีววิทยาประสาทแห่งการเรียนรู้และความทรงจำ (Center for Neuro-biology of Learning and Memory)

เขาพบว่า มียาและฮอร์โมนบางตัวที่มีความเกี่ยงข้อง (Associated) กับประสบการณ์ทางำอารมณ์ ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดการระลึกถึง (Recall) ความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ยกตัวอย่างเมื่อเวลาที่หนูได้รับการฉีด (Inject) ฮอร์โมนเอพิเนฟรีน (Epinephrine) ซึ่งโดยปกติฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างโดยร่างกายเมื่อมีความรู้สึกทางอารมณ์หรือความเครียด (Stressful) หนูจะมีการจดจำที่ดีกว่าในสิ่งที่มันเพิ่งเรียนรู้

นี่เป็นสิ่งใหม่และเป็นการค้นพบ (Finding) ที่น่าสนใจที่ทำให้เขาสงสัย (Wonder) ว่าทำไมประสบการณ์ทางอารมณ์ช่วยในการพัฒนาความทรงจำระยะยาวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงกัน แมคกอฟห์ พบว่า ฮอร์โมนและยาทางอารมณ์สามารถนำมาใช้ได้ปลอดภัยกับสัตว์ ซึ่งงานวิจัยที่ใช้ทดลองกับสัตว์นี้ใช้เวลานานเกือบ 20 ปี ก่อนที่เขาจะเริ่มทดลองใช้กับมนุษย์

การศึกษาของเขาทั้งในสัตว์และมนุษย์ใช้เวลาถึง 40 ปี จึงจะอธิบายได้ว่า ทำไมเหตุการณ์ทางอารมณ์ประทับตรา (Stamp) อยู่ในความทรงจำระยะยาวของมนุษย์

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. James McGaughhttps://en.wikipedia.org/wiki/James_McGaugh[2021, July 30].