จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 327: การเก็บความทรงจำระยะยาว (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-327

      

เวลาคนเราเล่นสกีลงเนินเขา เรามักบอกไม่ได้ว่าเราจะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อ (Muscle) เพื่อทรงตัว (Balance) หรือหมุนตัวได้อย่างไร แต่เมื่อเราได้อ่านบทความทางวิทยาศาสตร์ (Scientific article) ก็จะสามารถบอกได้ว่ากิจกรรม 2 อย่างนี้ (การเล่นสกีกับการอ่าน) ใช้ความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ที่แตกต่างกัน

การค้นพบที่บ่งชี้ว่าความทรงจำระยะยาวมี 2 ประเภท ซึ่งเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างใหม่ (Relatively new) เหมือนการค้นพบทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ อันอาจเกิดขึ้นจากความไม่ตั้งใจ (Accident)

นักวิจัยได้ทดสอบผู้ป่วยที่รู้จักกันดีในวงการความทรงจำ (Memory circle) ที่ชื่อว่า เอชเอ็ม (H.M.) ซึ่งผู้ป่วยมีอาการสูญเสียความทรงจำที่ร้ายแรง (Severe) เพราะการผ่าตัดสมองก่อนหน้านี้ เพื่อลดอาการชัก (Seizures) ของเขา

งาน (Task) ของเอชเอ็มดูเป็นสิ่งที่เรียบง่าย กล่าวคือ เขาต้องวาดรูปดาวโดยบังคับมือตัวเองผ่านการส่องกระจก (Mirror-drawing) อย่างไรก็ตาม การทดสอบวาดรูปนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากลำบาก เพราะการส่องกระจกจะทำให้การเคลื่อนไหวของมือเขาไปในทิศทางตรงกันข้าม (Reverse) จากด้านบนจะไปด้านล่าง และจากด้านล่างจะไปด้านบน

เอชเอ็มทำงานนี้ทุกวัน จนทำให้การพัฒนาในตัวเขาดีขึ้น (Improve) แสดงว่า เขาสามารถเรียนรู้และจดจำทักษะการเคลื่อนไหว (Motor skill) ที่จำเป็น แต่ส่วนที่แปลกประหลาด (Strange) ก็คือ ในทุกๆ วัน เอชเอ็มจะปฏิเสธว่าเขาไม่เคยเห็น หรือไม่เคยทำการวาดรูปผ่านกระจกมาก่อนเลย

เอชเอ็มไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับการวาดรูปผ่านกระจกได้อย่างไร ในขณะมีการพัฒนาทักษะในการวาดรูปของเขาดีขึ้นทุกวัน เพราะเขาปฏิบัติ (Practice) ซ้ำอยู่ทุกวัน

จากการวาดรูปผ่านกระจกของเอชเอ็ม และข้อมูลจากการทดสอบผู้ป่วยหรือทดลองสัตว์อื่นๆ นักวิจัยพบ (Discover) ว่าความทรงจำระยะยาวมีอยู่ 2 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณ (Area) สมองส่วนที่ต่างกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 2 ประเภทของความทรงจำระยะยาวที่เรียกว่า ความทรงจำชัดแจ้ง (Declarative) และความทรงจำเชิงกระบวนวิธี (Procedural)

ความทรงจำชัดแจ้งยังแยกย่อยออกเป็น ความทรงจำความหมาย (Semantic memory) กับความทรงจำเหตุการณ์ (Episodic memory)

ความทรงจำความหมายเกี่ยวโยงกับสิ่งที่เป็นจริง ในเรื่องความรู้ของความจริง (Fact), แนวความคิด (Concept), คำ (Word), นิยาม (Definition, และกฎของภาษา (Language rule) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นสิ่งที่เราเรียนมาในชั้นเรียน และตอบคำถาม เช่น นกประเภทไหนที่บินไม่ได้

ส่วน ความทรงจำเหตุการณ์ เกี่ยวโยงกับกิจกรรม ในเรื่องความรู้ของเหตุกรณ์เฉพาะ (Specific event), ประสบการณ์ส่วนตัว (Personal experience), หรือการให้บอกชื่อหรืออธิบายร้านอาหารโปรด (Favorite), ภาพยนตร์, เพลง, นิสัย (Habit), งานอดิเรก (Hobby) เป็นต้น ซึ่งสิ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นที่เราทำ และตอบคำถามเช่น เรากินอะไรเป็นอาหารเช้า

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, July 17].