จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 325: ระบบความทรงจำที่แยกกัน (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-325

      

นักวิจัยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความทรงจำ (Memory) มีอยู่ 2 ระบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีความเกี่ยวโยงกับความทรงจำระยะสั้นที่เก็บข้อมูลได้จำกัดในระยะเวลาอันสั้น แล้วข้อมูลนั้นจะหายไป

ยกตัวอย่างเช่น มีคนแปลกหน้าเข้ามาบอกชื่อเขากับคุณ แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณก็ลืมชื่อเขาเพราะข้อมูลนี้หายไปจากความทรงจำระยะสั้น

ระบบที่ 2 เกี่ยวข้องกับความทรงจำระยะยาวที่จัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในระยะเวลาที่ยาวนาน เช่นคุณสามารถนึกถึงรายละเอียดของความทรงจำวัยเด็กอันที่ผ่านมาหลายปีได้ดี เพราะข้อมูลพวกนี้ถูกจัดเก็บในความทรงจำระยะยาว

อีกหลักฐานหนี่งที่สามารถยืนยันการมีอยู่ของ 2 ระบบความทรงจำ มาจากการพบเห็นความเสียหายของสมองที่ลบความทรงจำระยะยาวออก และในขณะเดียวกันก็ยังมีการสำรองความทรงจำระยะสั้นที่ชัดเจน

หลักฐานอื่นที่ยืนยันเกี่ยวกับการมีอยู่ของ 2 ระบบความทรงจำมาจากนักวิจัยที่กล่าวว่า คนเราสามารถจำสิ่งที่อยู่บนรายการยาวๆ ได้อย่างไร

เราจะยกตัวอย่างของการจำข้อมูลที่อยู่ในรายการที่ค่อนข้างยาว เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าคนเรามี 2 ระบบความทรงจำ กล่าวคือ ความทรงจำระยะสั้นและระยะยาว

รายการตัวอย่างได้แก่ “หมี (Bear), ยีราฟ (Giraffe), หมาป่า (Wolf), แมลงวัน (Fly), กวาง (Deer), กวางขนาดใหญ่ (Elk), ลิงกอริลล่า (Gorilla), ช้าง (Elephant), กบ (Frog), หอยทาก (Snail), เต่า (Turtle), ปลาฉลาม (Shark), มด (Ant), นกฮูก (Owl)”

ให้ลองเขียนชื่อสัตว์ที่สามารถจำได้ทันที หลังจากอ่านรายการตัวอย่างข้างต้น โดยที่ไม่ต้องมีการเรียงลำดับ หากได้ลองทำเราจะพบการจัดเรียงที่ตายตัว (Definite pattern) ของลำดับชื่อที่สามารถจำได้ ซึ่งเราจะมายกตัวอย่างรายชื่อของรายการตัวอย่างที่คนเราสามารถจำได้บ่อยที่สุด ดังนี้

ในการศึกษาที่ใช้รายการข้างต้นที่คล้ายกัน ผู้เข้ารับการทดลอง (Subjects) สามารถระลึกถึง (Recall) ความทรงจำของ 4 ถึง 5 รายการแรกได้ (หมี, ยีราฟ, หมาป่า, แมลงวัน) เพราะพวกเขามีเวลาทวนซ้ำ (Rehearse) คำแรกๆ ที่นำเสนอ

ผลลัพธ์ของการทวนซ้ำ ก็คือคำแรกๆ เหล่านี้ได้ถูกโอนย้าย (Transfer) และจัดเก็บในความทรงจำระยะยาว อันทำให้พวกเขาระลึกถึงความทรงจำได้ ปรากฏการณ์ (Phenomenon) นี้เรียกว่า ผลกระทบเบื้องต้น (Primacy effect) ซึ่งหมายถึง การระลึกถึงหรือพัฒนาที่ดีขึ้นในการเก็บรักษา (Retention) ข้อมูลที่แสดงออกมาเมื่อเริ่มทำงาน (Task)

ผู้เข้ารับการทดลอง (Subjects) ไม่สามารถเรียกความจำได้มากในส่วนกลาง (Middle) ของรายการตัวอย่าง (กล่าวคือ ลิงกอริลล่า, ช้าง, และกบ) เพราะพวกเขามีเวลานิดเดียวในการทวนซ้ำ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, July 3].