จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 324: การจัดเก็บข้อมูลลงความทรงจำระยะยาว (2)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 27 มิถุนายน 2564
- Tweet
ความทรงจำระยะยาวหมายถึงกระบวนการของการจัดเก็บที่เกือบจะไม่มีพื้นที่จำกัดของข้อมูล ในระยะเวลาที่ยาวนาน อันมีความเป็นไปได้ที่คนสามารถดึงข้อมูล (Retrieving) นั้นกลับมาใช้ได้อีก หรือสามารถจำข้อมูลนั้นได้ในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น ในสัปดาห์, เดือน, หรือปีหน้า คนเราพยายามดึงความทรงจำ (Recall) ของชื่อเพลงจากความทรงจำระยะยาว โดยนำกลับไปวางที่ความทรงจำระยะสั้น ซึ่งความแม่นยำและความยากง่ายในการดึงข้อมูล, เรียกความทรงจำคืน, หรือจดจำข้อมูลที่เราต้องการนึกถึงขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
กระบวนการสุดท้าย 6. คือกระบวนการดึงข้อมูลเวลาคนเราพูดถึงการจำอะไรบางอย่าง หมายความว่าเขากำลังดึงข้อมูลนั้นออกมาจากความทรงจำระยะยาว การดึงข้อมูลเป็นกระบวนการของการเลือกข้อมูลจากความทรงจำระยะยาวแล้วโอนย้าย (Transfer) กลับมาในความทรงจำระยะสั้น
มันมีบางเหตุผลที่คนไม่สามารถจดจำหรือดึงข้อมูลชื่อเพลง เช่นถ้าคนเราเพียงพูดชื่อเพลงซ้ำ โดยที่มันมิได้รับการเข้ารหัสอย่างเหมาะสม (Properly encoded) ในความทรงจำระยะยาว หรือ อาจมีเพลงอื่นที่เข้ามารบกวนในการเข้ารหัสชื่อเพลงสู่ความทรงจำระยะยาว
หรือเราอาจจะไม่ได้มีการเชื่อมโยง (Association) เช่นหัวใจกับเค้กช็อกโกแลต ซึ่งจะทำให้ชื่อเพลงนั้นมิได้มีการเข้ารหัสอย่างเหมาะสม จนยากที่จะดึงข้อมูลกลับมา ซึ่งกุญแจหลักในการดึงข้อมูลจากความทรงจำระยะยาวต้องมีความเกี่ยวโยงของการเข้ารหัสโดยใช้การเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า
นักวิจัยประมานการว่าพื้นที่ในความทรงจำระยะยาวแทบไม่มีข้อจำกัด (Unlimited capacity) ในการจัดเก็บข้อมูล เป็นไปได้ว่า ข้อมูลจะอยู่ในนั้นทั้งชีวิต หากการใช้ยาหรือมีโรคไม่ส่งผลให้ทำลายวงจร (Circuit) ความทรงจำในสมองของคน
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่คนสามารถดึงข้อมูลในความทรงจำระยะยาวมาใช้ได้ แต่จำนวนที่เราสามารถดึงออกมาใช้ได้ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย รวมถึงว่ามีการเข้ารหัสอย่างไรหรือจำนวนสิ่งรบกวนจากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติมก็คือ นักวิจัยพบว่าเนื้อหา (Content) และความแม่นยำ (Accuracy) ของความทรงจำระยะยาวมีการเปลี่ยนแปลงได้และมีการบิดเบือน (Distortion) ตามกาลเวลา ในงานวิจัยหนึ่ง มีการให้นักศึกษาปี 1 ลองดึง (ระลึกถึง) ข้อมูลของคะแนนเฉลี่ยหรือเกรดของ 4 ปีในขณะที่พวกเขาอยู่มัธยมปลาย ผลปรากฏว่า นักศึกษา 89% สามารถจดจำเกรด A ได้ แต่มีเพียง 29% ที่จดจำเกรด D ได้
จากข้างต้นสรุปได้ว่า นักศึกษาสามารถระลึกถึงความทรงจำได้มากกว่าในเหตุการณ์ทางบวก เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ทางลบ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า คนเราไม่สามารถเรียกความแม่นยำของข้อมูลได้เท่าเทียมกันในทุกเหตุการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะแม่นยำในเหตุการณ์ทางบวกแล้วเลือกเอาออกในเหตุการณ์ทางลบ เหตุผลเพราะข้อมูลคนเรามีการเปลี่ยนแปลง, ถูกบิดเบือน, และถูกหลงลืม
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, Jun 26].