จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 323: การจัดเก็บข้อมูลลงความทรงจำระยะยาว (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 20 มิถุนายน 2564
- Tweet
อย่าคิดถึงความทรงจำรู้สึก (Sensory memory), ความจำระยะสั้น (Short-term memory), หรือความจำระยะยาว (Long-term memory) ว่าเป็นสิ่งของหรือสถานที่ แต่เป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่ (On-going) และมีการโต้ตอบกัน (Interactive process) ตลอด
เราจะอธิบายถึง 6 กระบวนการโดยใช้ตัวอย่างเมื่อคนเราได้ยินเพลงใหม่จากวิทยุในรถยนต์ แล้วต้องการที่จะจำชื่อเพลง
เริ่มจาก 1. ในขณะที่เราฟังวิทยุในรถยนต์ ข้อมูลที่เข้ามาจะอยู่ไม่กี่วินาทีหรือน้อยกว่านั้นในความทรงจำรู้สึก บางข้อมูลเสียง (Auditory information) รวมถึงคำที่ผู้ประกาศพูดว่า “จงจำชื่อเพลงนี้ ‘ความรักของคุณเหมือนช็อคโคแลต (Chocolate)’ เพื่อชิงรางวัลตั๋วหนัง 2 ใบ”
2. ถ้าคนเราไม่ให้ความสนใจกับชื่อเพลงนี้มันจะหายไปจากความทรงจำรู้สึก แต่ถ้าเราอยากได้ตั๋วหนัง 2 ใบ ชื่อเพลง “ความรักเหมือนช็อคโคแลต” มันจะโอนย้าย (Transfer) เข้าไปสู่ความทรงจำระยะสั้นโดยอัตโนมัติ
ต่อมา 3. เมื่อไรที่ชื่อเพลงอยู่ในความทรงจำระยะสั้น คนเราปกติจะมีระยะเวลาที่สั้น (2 – 30 วินาที) เพื่อกระบวนการที่จะเกิดขึ้นถัดไป ถ้าเราสูญเสียความสนใจตรงนี้ หรือถูกหันเห (Distracted) ด้วยปัญหารถติด (Traffic) ชื่อเพลงนี้ มีแนวโน้ม (Likely) จะหายไปอแล้วทำให้เราลืมมัน
อย่างไรก็ตามถ้าเราท่อง (Rehearse) ชื่อเพลงนี้ มีความเป็นไปได้ที่ความทรงจำนี้จะโอนย้ายแล้ว (เข้ารหัส [Encoding]) เข้าสู่ความทรงจำระยะยาว
4. เมื่อไรที่ข้อมูลนี้ถูกวางในความทรงจำระยะยาว ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การเข้ารหัส” ซึ่งหมายถึงกระบวนการโอนย้ายข้อมูลจากความทรงจำระยะสั้นสู่ความทรงจำระยะยาวโดยให้ความสนใจ (Attention), การท่องจำหรือพูดซ้ำ, หรือสร้างความเชื่อมโยง (Association) ใหม่เกี่ยวกับข้อมูล
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าชื่อเพลงเป็นที่จับใจ (Catchy), ไม่ธรรมดา (Unusual), หรือทำให้คนนั้นนึกถึง (Remind) บางอย่าง เช่นหัวใจและเค้กช็อกโกแลต จะทำให้คนนั้นสร้างความเชื่อมโยงได้ง่ายและมีการเข้ารหัสชื่อเพลงเกือบจะโดยอัตโนมัติ และด้วยการใช้ความพายายาม (Effort) ที่น้อยนิด
อย่างไรก็ตาม ถ้าคนเรานั้นคิดว่าชื่อเพลงฟังดูโง่เง่า (Dumb) หรือมีปัญหาในการจดจำมัน เราก็จำเป็นต้องตั้งใจ (Deliberate) ใช้ความพายายามเพื่อทำการเข้ารหัสชื่อเพลงในความทรงจำระยะยาว และสามารถปรับปรุง (Improve) การเข้ารหัสในความทรงจำระยะยาว และการระลึกได้ในอนาคต ด้วยการเชื่อมโยง ระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า
กระบวนการที่ 5. ของระบบความทรงจำเกี่ยวโยงกับความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) เมื่อไรที่ชื่อเพลงที่ได้ยินในรถยนต์ มีการเข้ารหัสในความทรงจำระยะยาว ก็จะมีความเป็นไปได้สูง (Potential) ที่มันจะคงอยู่ไปตลอดชีวิต (Life-time) ของคนนั้น
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, Jun 19].