จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 319: การทำงานของความทรงจำระยะสั้น (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-319

      

หลังจากที่เรามองดูเบอร์โทรศัพท์แล้วท่องจำเบอร์นั้นซ้ำๆ ขณะที่กำลังโทรศัพท์สั่งพิซซ่า (Pizza) หลังจากที่วางสาย หลังสั่งอาหารเสร็จ เราก็ลืมเบอร์นั้น อันตัวอย่างนี้แสดงให้เห็น 2 ลักษณะของความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory)

ความทรงจำระยะสั้นครั้งล่าสุดเรียกว่าความจำเพื่อใช้งาน (Working memory) หมายถึงกระบวนการที่สามารถเก็บข้อมูลจำนวนจำกัดโดยเฉลี่ยประมาณ 7 สิ่ง ในช่วงระยะเวลาที่สั้นและจำกัด (2 ถึง 30 วินาที) อย่างไรก็ตามในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น สามารถขยายออกโดยการทำซ้ำหรือฝึกฝนเกี่ยวกับข้อมูล

ด้วยเหตุผลที่ดี เบอร์โทรศัพท์และรหัสไปรษณีย์มีประมาณ 7 หลักหรือน้อยกว่านั้น เพราะว่านั่นเกือบจะเป็นขีดจำกัดของความทรงจำระยะสั้น

อีกตัวอย่างของการใช้ความจำเพื่อใช้งานคือเมื่อเราเก็บภาพใบหน้าไว้ในใจ ในขณะที่เรากำลังค้นหาใบหน้าของคนนั้นในสถานที่คนแออัด สมองได้กวาดส่อง (Brain scan) การทำงานที่คล้ายกัน โดยพบว่า กิจกรรมในสมอง (Neural activity) เกิดขึ้นมากที่สุดตรงส่วนหน้าผากของสมอง (Prefrontal cortex)

ล่าสุดมีการการศึกษาที่ใช้การกวาดส่องสมอง พบว่าเมื่อเราใช้ความจำเพื่อใช้งานที่หลากหลายในการประมวลผลงานรับรู้ (Cognitive tasks) กิจกรรมในสมองเกิดขึ้นมากที่สุด ตรงหลากหลายบริเวณของส่วนหน้าผากของสมอง

แม้ว่ามันมีประโยชน์อย่างยิ่ง ความทรงจำระยะสั้นมีลักษณะเฉพาะอยู่ 2 อย่าง คือมีระยะเวลาและมีพื้นที่จัดเก็บที่จำกัดซึ่งส่งผลลัพธ์ถึงปัญหาความทรงจำบางอย่าง

เบอร์โทรศัพท์ใหม่ที่เรามอง จะคงอยู่ในสมองประมาณ 2 – 30 วินาที แล้วค่อยหายไป อย่างไรก็ตาม เราสามารถเก็บข้อมูลในความทรงจำระยะสั้นได้นานขึ้นโดยการนำมาใช้งานบ่อยๆ (Maintenance rehearsal)

การนำมาใช้งานบ่อยๆ หมายถึงการฝึกซ้อมโดยเจตนาพูดซ้ำ (Intentionally repeating) หรือฝึกฝนเกี่ยวกับข้อมูลนั้นเพื่อที่จะให้มันคงอยู่ได้นานขึ้นในหน่วยความทรงจำระยะสั้น

นักวิจัยได้ทำการศึกษาว่า ข้อมูลจะคงอยู่ได้นานเท่าไหร่ถ้าไม่มีการฝึกซ้อมหรือฝึกฝน โดยขออาสาสมัครที่เข้ามารับการทดลอง (Subjects) จำชุดพยัญชนะ (Series of consonants)

ชุดพยัญชนะดังกล่าว ประกอบด้วยตัวอักษรที่ไม่มีความหมาย 3 ตัว เช่น CHJ ผู้รับการทดลองจะถูกกีดกัน (Prevented) ไม่ให้ฝึกฝนหรือพูดซ้ำพยัญชนะเหล่านี้ โดยให้พวกเขาพูดตัวอักษรย้อนกลับทันที (Immediately) หลังจากที่พวกเขาเห็นกลุ่มคำของ 3 ตัวอักษรดังกล่าว

ผลสรุปคือ 80% ของผู้เข้ารับการทดลอง สามารถระลึกถึงความทรงจำของ 3 ตัวอักษรใน 3 วินาที อย่างไรก็มีเพียง 10% ของผู้เข้ารับการทดลองสามารถระลึกถึงความทรงจำของกลุ่มคำ 3 ตัวอักษร หลังจาก 15 วินาที

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, May 22].