จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 317: การบันทึกความทรงจำที่รู้สึก (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 9 พฤษภาคม 2564
- Tweet
สมองของคนเราเป็นเครื่องบันทึกภาพและเสียงทางจิต (Mental video-audio recorder) อันทำงานอัตโนมัติ (Automatically) ในการรับ (Receive) และเก็บ (Hold) ข้อมูลทางความรู้สึก (Sensory information) ที่เข้ามาในเวลาไม่กี่วินาทีหรือน้อยกว่านั้น
ในช่วงเวลาที่สั้น (Brief) นี้ เป็นเวลาเพียงพอเพื่อให้เราตัดสินใจว่า ข้อมูลทางความรู้สึกที่เข้ามาสำคัญ (Important) หรือน่าสนใจ (Interesting) มากพอ ที่จะให้ความสนใจติดตามต่อ (Further attention) หรือไม่
เราจะตรวจสอบ (Examine) 2 ประเภทของความทรงจำที่รู้สึกทาง 1. การเห็นภาพ (Visual) ความทรงจำที่รู้สึกเรียกว่า ความจำภาพติดตา (Iconic memory) และ 2. เสียงของความทรงจำที่รู้สึก เรียกว่าความจำเสียงก้องหู (Echoic memory)
คนเรากระพริบตา (Blink) ประมาณ 14,000 ครั้งต่อวัน ซึ่งหมายความว่าตาเราจะปิดและบอดสนิทประมาณวันละ 23 นาที ในช่วงเวลาที่เราตื่นนอนอยู่
ในขณะที่เราปิดตา ไม่ได้หมายความว่าโลกนั้นอันตรธานหายไป เมื่อคนเรากระพริบตาเพราะว่าเรามีความทรงจำที่รู้สึกพิเศษ เรียกว่าความทรงจำภาพติดตา
ความทรงจำภาพติดจาเป็นรูปแบบของความทรงจำที่รู้สึก ซึ่งจะเก็บข้อมูลภาพโดยอัตโนมัติ (Automatic) ในเวลาประมาณ หนึ่งในสี่ (Quarter) ของ 1 วินาที หรือมากกว่านั้น ซึ่งเมื่อไหร่ที่เราย้าย (Shift) ความสนใจ ข้อมูลนั้นจะหายไป
เนื่องจากความทรงจำภาพติดตา เราจึงไม่ตาบอด เมื่อตาทั้งสองของเราปิดสนิทในขณะกระพริบตา (ประมาณหนึ่งในสาม ของ 1 วินาที) เพราะฉาก (Scene) ที่เห็น จะถูกเก็บเป็นเวลาสั้นในความทรงจำภาพติดตา
เมื่อตาเราเปิดขึ้นมาอีกครั้ง เราจะไม่สังเกตเห็น (Notice) ว่าตาเราปิดสนิทในขณะที่เรากระพริบตา เพราะ “เรายังคงเห็น” ข้อมูลภาพที่จัดเก็บไว้ในความทรงจำภาพติดตาเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
ถ้าเราไม่มีความทรงจำภาพติดตา โลกของเราจะอันตรธานหายไปในความมืด ทุกครั้งขณะที่เรากระพริบตาวันละ 14,000 ครั้งในขณะที่เราตื่นนอน
การศึกษาที่นักวิจัยใช้เพื่อค้นหาเกี่ยวกับความทรงจำภาพติดตาไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย เพราะความทรงจำที่อยู่กับเราน้อยกว่า 1 วินาทีต้องมีขั้นตอนการศึกษาที่ค่อนข้างชาญฉลาด (Clever)
การศึกษาแรกที่ทำให้เราเห็นการปรากฏตัว (Existing) และความยาว (Length) ระยะเวลาของความจำภาพติดตา มีขั้นตอน (Procedure) โดยการให้คนที่เข้าทดลอง (Subjects) นั่งด้านหน้าจอภาพ (Screen) ที่มีตัวอักษร 12 ปรากฏตัวขึ้นมา (3 แถวโดยแถวละ 4 ตัว) ในระยะช่วงเวลาที่สั้น (50/1,000 ของ 1 วินาที)
หลังการนำเสนอแต่ละครั้ง ผู้เข้าทดลองได้รับคำสั่งให้ระลึก (Recall) ถึงตัวอักษรเฉพาะแถว (Particular letter)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, May 8].