จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 314: มุ่งเน้นงานวิจัย: ความจำที่เหลือเชื่อและกดทับ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-314

      

กรณีของโฮลลี่ (Holly) ใน 1 ปี หลังจากปีที่เธอเข้ามารับการบำบัด (Therapy) โฮลลี่กล่าวโทษพ่อของเธอถึงการลวนลามทางเพศ (Sexual molestation) ซึ่งเป็นประสบการณ์ตัวอย่างของความทรงจำที่กดทับไว้ (Repress memory)

ในสัปดาห์ที่แล้วเราพูดถึงความทรงจำอันน่าเหลือเชื่อของราจาน (Rajan) ว่าเขาสามารถจดจำค่าของพาย (Pi) ได้มากกว่าหลายหมื่นหลัก (Digit) และโฮลลี่มีการหน่วงเวลา (Delayed) ความทรงจำ จากประสบการณ์ (Experience) วัยเด็ก อันที่จริง มี 3 สิ่งที่แตกต่างกันในกระบวนการความทรงจำ

ความทรงจำเป็นความสามารถที่จะทำให้ข้อมูล (Information) คงอยู่ตามกาลเวลา ผ่าน 3 กระบวนการ ได้แก่ การเข้ารหัส (Encode) หรือการก่อร่าง (Forming), การเก็บ (Storing), และการเรียกใช้ (Retrieve)

ความทรงจำไม่ใช่การคัดลอก แต่เป็นตัวแทน (Representation) การแสดงของโลกว่า มีความแตกต่างมากมายในเรื่องความแม่นยำ (Accuracy) และจะกลายเป็นสิ่งอาจผิดพลาด (Error) หรือบิดเบี้ยว (Bias)

กระบวนการของความทรงจำเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เข้าใจกระบวนการที่น่าสนใจและมีความซับซ้อนว่า เราสามารถจดจำและสร้างโลกที่พวกเราอยู่ได้อย่างไร

เริ่มจากการเข้ารหัส ราจานได้พัฒนาขั้นตอนหรือเข้ารหัสเพื่อสร้างความทรงจำของทศนิยม การเข้ารหัสหมายถึงการทดแทนทางจิต (Mental representation) ของข้อมูลซึ่งถูกวางอยู่ในความทรงจำของเรา

ยกตัวอย่างเช่น ราจานเข้ารหัสตัวเลข 111 โดยการเชื่อมโยงกับนายพลเรือ เนลสัน (Admiral Nelson) ผู้ซึ่งมีตา, แขน, และขาข้างเดียว

ต่อมาคือการจัดเก็บ ราจานใช้การเชื่อมโยงเพื่อเข้าถึงรหัสข้อมูลเพราะว่าการเชื่อมโยงมีประโยชน์ในการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บเป็นกระบวนการที่วางรหัสข้อมูลในส่วนที่จัดเก็บอย่างถาวร (Permanent) ทางจิตเพื่อสามารถเรียกใช้ได้ในภายหน้า ข้อมูลใหม่ที่ถูกจัดเก็บโดยการเชื่อมโยงกับสิ่งเก่าหรือข้อมูลที่คุ้นเคยจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น หรือการเรียกใช้

สุดท้ายการเรียกใช้ข้อมูล ราจานสามารถเรียก หรือดึงข้อมูล 31,811 หลักของค่าของพาย การเรียกใช้ข้อมูลเป็นกระบวนการของการดึงข้อมูลที่วางอยู่ในพื้นที่จัดเก็บ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

มีเพียงแค่ 6 คนเท่านั้นในโลกนี้สามารถเชื่อมโยงกับการเข้าถึงรหัส, การจัดเก็บ, และการเรียกใช้ข้อมูลมากกว่าหลายหมื่นหลักแบบราจาน

นักเรียนมักคุ้นเคยกับปัญหากับการเรียกใช้หรือดึงข้อมูล [จากสมอง] ในเวลาสอบเมื่อ เขาจะสอบตก หากความพยายามของในการดึงข้อมูลจากที่สะสมไว้เมื่อเขาเรียนอยู่ในชั้นไม่เป็นผล ประเด็นที่น่าสนใจก็คือความทรงจำเข้ารหัสได้อย่างไร, ถูกกดทับไว้อย่างไร? และทำไมความทรงจำทางอารมณ์ (Emotional memory) ถึงอยู่นาน?

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
  2. Memoryhttps://en.wikipedia.org/wiki/Memory[2021, April 17]