จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 309: การสะท้อนกลับทางชีวภาพ (1)
- โดย ภู ภักดิ์วิไลเกียรติ
- 14 มีนาคม 2564
- Tweet
อย่างไรก็ตาม มีนักวิพาก์วิจารณ์ (Critics) ตั้งคำถาม ว่าผลลัพธ์ของเด็ก 9 คนนี้สามารถนำมาใช้กับเด็กออทิสติกทั้งหมดได้จริงหรือ เพราะเด็กพวกนี้อาจจะมีอาการออทิสติกน้อย (Mild) ตั้งแต่แรก นายแพทย์โลวาส (Dr. Lovaas) แก้ไขปัญหานี้ โดยประสานงานวิจัยชิ้นใหญ่กว่า โดยใช้เทคนิคการดัดแปลงพฤติกรรม (Behavior modification) เพื่อรักษาเด็กออทิสติกต่อไป
ปัญหาทางจิต (Psycho-somatic) ของหลายคนได้วิวัฒนาต่างๆ อันส่งผลมาจากความเครียด (Stress) หรือความคิดที่เข้ามาก่อกวน (Disturb) ซึ่งนำพาไปถึงการปวด (Aches) และเจ็บ (Pain) ในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาทางจิตที่รวมถึงอาการปวดหลัง, อาการตึงของกล้ามเนื้อ (Muscle tension), อาการความดันโลหิตสูง (High blood pressure), อาการท้องไส้ปั่นป่วน (Stomach distress), และอาการปวดหัว
ขั้นตอน (Procedure) หนึ่งในการลดปัญหาทางจิต ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวางเงื่อนไขการกระทำ (Operant conditioning) ซึ่งเรียกว่าการสะท้อนกลับทางชีวภาพ (Bio-feedback) ซึ่งก็คือขั้นตอนการฝึกที่ทำให้บุคคลรับรู้การตอบสนองทางจิตของตน เช่นการทำงาน (Activity) ของกล้ามเนื้อ, อัตราเต้นของหัวใจ (Heart rate), ความดันโลหิต, หรืออุณหภูมิ (Temperature)
หลังจากรับรู้ถึงการตอบสนองทางจิต (Psychological response) มนุษย์จะพายายามควบคุมมันเพื่อลดอัตราของปัญหาทางจิตให้น้อยลง ยกตัวอย่างเช่น อาการปวดหัวอาจเกิดขึ้นหรือทำให้แย่จากการตึงของกล้ามเนื้อ โดยที่คนที่มีอาการ (Suffer) นี้อาจจะไม่เคยรับรู้ (Totally unaware)
ส่วนหน้าผาก (Forehead) และต้นคอของคนเรา มีแผ่น (Band) กล้ามเนื้อที่กว้าง ซึ่งการตึงอาจนำไปสู่การเจ็บปวดแล้วทำให้รู้สึกไม่สบาย (Discomfort) ด้วยภาพเคลื่อนไหวจากวีดิทัศน์ (Video) หรือเครื่องเสียง (Audio) เราจะได้รับการสะท้อนกลับทางชีวภาพ ทำให้สามารถรับรู้การตึงของกล้ามเนื้อและสามารถเรียนรู้เพื่อที่จะลดอาการ
การติด (Attach) เครื่องจับความไว (Sensor) อันเล็กๆ ณ ที่หน้าผากของผู้ป่วย เพื่อตรวจจับการทำงานของกล้ามเนื้อชิ้นใหญ่ ที่ยืด (Stretch) ครอบคลุม (Across) ด้านบนข้างหน้าของศีรษะ ทำให้เราทราบว่า ผู้ป่วยกำลังพายายามที่จะผ่อนคลาย (Relax) กล้ามเนื้อบนหน้าผาก โดยจินตนาการ (Imagine)ถึงฉาก (Scene) ที่ผ่อนคลาย, ปลดปล่อยความคิดให้ผ่อนคลาย, หรือจริงๆ แล้ว ปล่อยให้กล้ามเนื้อตึงและผ่อนคลายไปเอง
พฤติกรรมเป้าหมาย (Target behavior) คือการลดการตึงของกล้ามเนื้อที่หน้าผาก เพื่อให้บรรลุพฤติกรรมเป้าหมาย ผู้ป่วยต้องได้รับการฝึกการคิดหรือจินตนาการฉากที่ผ่อนคลายเพื่อส่งผลให้ลดการตึงของกล้ามเนื้อส่วนนั้น การลดการตึงของกล้ามเนื้อจะถูกส่งสัญญานโดยคลื่นเสียง ซึ่งมีหน้าที่คล้ายสิ่งเสริมแรง (Reinforcer)
หลังจากการฝึกผ่านไปหลายรอบ ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ที่จะลดอาการตึงของกล้ามเนื้อกับเป้าหมายที่คงความผ่อนคลายในครั้งต่อไปที่เธอรู้สึกเศร้าใจ (Up-set)
แหล่งข้อมูล:
- Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth - Thompson Learning.
- Biofeedback - https://en.wikipedia.org/wiki/Biofeedback [2021, March 13].
- Behavior modification - https://en.wikipedia.org/wiki/Behavior_modification [2021, March 13].